จากการที่ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างมีความกังวลว่าจะทำให้โปรไฟล์เสียหาย แต่ในความเป็นจริงแล้วการถูกบอกเลิกจ้างในปัจจุบันมักจะเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการการปรับปรุงโครงสร้าง ลดคนและอื่น ๆ โดยเฉพาะหลังจากผลกระทบจากโควิด
มาเข้าใจความแตกต่างระหว่าง การลาออก (Resign) การถูกบอกเลิกจ้าง (Lay Off or Redundancy) และ การถูกไล่ออก (Fired or Sacked)
การลาออก (Resign)
หมายถึงสภาวะที่ลูกจ้างไม่ต้องการทำงานต่อกับนายจ้างนั้น ๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดใดก็ตาม แต่หลักสำคัญคือเป็นความต้องการของลูกจ้างและลูกจ้างเป็นผู้เลือกเพราะอาจจะมีเป้าหมายในชีวิตที่เปลี่ยนไป และนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดใด ยกเว้นวันหยุดและวันลาพักร้อนที่ยังคงไม่ได้ใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันว่าจะจ่ายเป็นเงิน หรือให้ใช้เป็นวันหยุดก่อนที่จะถึงวันครบกำหนดวันที่ลาออก
เหตุผลในการลาออกคือ ชีวิตการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ ไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกจ้างอีกต่อไป การลาออกโดยปกติแล้วลูกจ้างต้องมีการแจ้งล่วงหน้า 1 เดือนเพื่อให้นายจ้างสามารถหาคนมาทำงานแทนตำแหน่งนั้น และการลาออกเป็นดัชนีชี้วัดอัตราการลาออกของพนักงานอีกด้วย เหตุผลและความต้องการของลูกจ้างที่ยื่นลาออกส่วนใหญ่คือ
- ได้งานใหม่ที่ได้ตำแหน่งสูงกว่าหรือเงินเดือนสูงกว่า
- เรียนต่อ
- ความจำเป็นทางครอบครัว
- ทางเลือกในการทำงานที่มีมากขึ้น เช่น ทำงานจากที่บ้าน Work From Home หรือ Remote ซึ่งลักษณะงานแบบนี้ ก็มีให้เลือกในตลาดแรงงานสูงมากขึ้นอีกด้วย และกลายเป็นทางเลือกให้ลูกจ้างได้มากขึ้นเพราะลูกจ้างไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง สามารถสร้างสมดุลการทำงานกับการใช้ชีวิตได้มีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย
- เลือกลักษณะงานได้มากขึ้น เช่นเป็นฟรีแลนซ์ เป็นพาร์ทไทม์ ซึ่งสามารถกำหนดวันและเวลาทำงานต่อสัปดาห์ได้
- เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องออกไปเสี่ยงกับโรคภัยต่าง ๆ
- จากสาวะการทำงานที่หนักเกินไป หรือความอึดอัดจากการทำงานที่บริษัท สะสมเกิดเป็นความเครียดทำให้ลูกจ้างมองหางานที่เหมาะกับตัวเองมากยิ่งขึ้น
- ตัดสินใจหางานที่มีความมั่นคงมากกว่า เมื่อลูกจ้างกังวลถึงความไม่มั่นคงของบริษัท
การถูกไล่ออก (Fired or Sacked)
หมายถึงลูกจ้างคนนั้นถูกให้ออกจากงานเพราะทำผิดวินัยร้ายแรงจนส่งผลกระทบเสียหายรุนแรงแก่นายจ้าง และนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งจะต้องมีการสอบสวนและมีผลลัพธ์ชัดเจน เช่น
- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่นการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทไปเป็นของตัวเอง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างซึ่งได้มีการตักเตือนเป็นลำดับขั้น จากเตือนด้วยวาจา จดหมายเตือน เว้นแต่กรณีร้ายแรง
- ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกันจะโดยมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
การถูกบอกเลิกจ้าง (Lay Off or Redundancy)
หมายถึงการให้พนักงานออกจากงานหรือเลิกจ้างด้วยความจำเป็นของนายจ้างด้วยความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่จำเป็นถึงขนาดที่ต้องเลิกจ้างลูกจ้าง โดยในทุกขั้นตอนของการบอกเลิกจ้างจะต้องดำเนินการไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด
โดยได้ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 หมวด 11 ค่าชดเชย มาตราที่ 118 และ 17/1 ในกรณีดังกล่าวนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งจะมี 2 ส่วนคือ
- ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 หมวด 11 ค่าชดเชย มาตราที่ 118 ซึ่งจำนวนเงินชดเชยเป็นไปตามจำนวนปีที่ลูกจ้างทำงานกับนายจ้าง
- ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 หมวด 11 ค่าชดเชย มาตราที่ 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน
การปรับโครงสร้างองค์กร
ปรับปรุงหน่วยงาน เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการนำเทคโนโลยี เครื่องจักรเข้ามาแทน นอกเหนือจากค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไปซึ่งนายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งวัน เหตุผล และรายชื่อที่จะเลิกจ้าง ให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน
- ถ้าไม่แจ้ง หรือแจ้งน้อยกว่า 60 วัน ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้าย (สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)
เลิกจ้างเพราะย้ายสถานประกอบกิจการไปที่อื่น
ทำให้มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างหรือครอบครัว ซึ่งนายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
- นายจ้างต้องแจ้งไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย
- ถ้าไม่แจ้งตามเวลาที่กำหนด นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
- ถ้าลูกจ้างไม่สะดวกไปทำงาน สามารถยกเลิกสัญญาจ้าง โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยปกติ
การบอกเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีการเตรียมตัวและต้องให้ความเป็นธรรมแก่ลูกจ้าง
เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ดังนั้นการคัดเลือกลูกจ้างเพื่อบอกเลิกจ้างจึงมีความละเอียดอ่อนมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมกระบวนการอย่างเหมาะสมและโปร่งใสโดยไม่เลือกปฏิบัติซึ่งอาจจะรวมถึงการพิจารณาดังต่อไปนี้
- มีกระบวนการลดต้นทุนด้านการจัดการ เช่น ต้นทุนการผลิต ค่าสาธารณูปโภค
- ปรับลดสภาพการจ้างกับลูกจ้าง
- จัดโครงการเกษียณอายุก่อนครบกำหนด
- ให้สิทธิ์ลูกจ้างลาเพื่อศึกษาต่อโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
- ให้สิทธิ์ลูกจ้างที่สมัครใจออกโดยได้ค่าชดเชย
- การคัดเลือกลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง โดยพิจารณาจากเกณฑ์อายุงาน
จะเห็นได้ว่าการสิ้นสุดการจ้างงาน มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และในทุกกรณี กฎหมายแรงงานให้ความคุ้มครอง และยุติธรรมต่อลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือการปฏิบัติอย่างให้เกียรติกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลิกจ้างในกรณีได้ค่าชดเชย เพราะการเลิกจ้างเป็นความจำเป็นของนายจ้าง แต่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างมีผลกระทบต่อตัวลูกจ้างทั้งด้านจิตใจและการดำเนินชีวิตของทั้งตัวลูกจ้างและครอบครัวของพวกเขา
การให้ความช่วยเหลือในการเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจในกระบวนการสรรหาบุคคลในปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ รวมทั้งการสร้างความมั่นใจให้พวกเขาพร้อมที่จะก้าวต่อไปในอนาคตจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง การเลือกบริษัทที่ให้บริการที่ด้าน Outplacement จึงต้องคัดเลือกจากความชำนาญเพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร
LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ [email protected] หรือโทร 022586930-35