การถูกเลิกจ้างมีจำนวนสูงขึ้นกว่าเดิมมากและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นทุก ๆ ปี และเชื่อได้เลยว่าถ้าเรายังโลดแล่นอยู่ในสังเวียนของการเป็นลูกจ้าง ไม่เราเองก็คนใกล้ตัวเคยเจอประสบการณ์ของการถูกบอกเลิกจ้างมาแล้ว แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต้องการนี้อีกนัยหนึ่งสอนให้เราเตรียมตัวตลอดเวลาถ้าไม่อยากต้องเจอเหตุการณ์ซ้ำ ๆ เราต้องเข้าใจแน้วโน้มในอนาคตของธุรกิจที่เรามีประสบการณ์อยู่ และต้องพัฒนาขึ้นอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้เรายังคงเป็นที่ต้องการในตลาดอยู่เสมอ นั่นหมายถึงเราต้องลับคมทักษะและความสามารถของเราอย่างสม่ำเสมอ และต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัยโดยเฉพาะทันต่อเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างเร็วมาก ๆ
การถูกบอกเลิกจ้างไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับได้ และบางครั้งทำให้เรารู้สึกสูญเสียคุณค่าในตัวเอง สับสนว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป จนเลยเถิดเป็นความโกรธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราสร้างประโยชน์ให้องค์กรมามากมาย ทำยอดขายให้เกินเป้าติดต่อกันมาเป็นหลาย ๆ ปี บริษัทไม่มองเห็นคุณค่าของเราเลยเหรอ ร้ายที่สุดคือปิดตัวเองจากโลกภายนอกไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดใดซึ่งเป็นสภาวะที่ทำให้เราสูญเสียมากกว่าการถูกบอกเลิกจ้างเสียอีก ดังนั้นเราจึงอยากจะมาแบ่งปันเคล็ดลับในการปรับตัวหลังถูกเลิกจ้าง ว่าจะต้องปรับตัวอย่างไร แล้วทำความเข้าใจกับอะไรบ้าง
เคล็ดลับในการปรับตัวหลังถูกเลิกจ้าง
1. ยอมรับความจริง
การยอมรับความจริงเท่านั้นที่จะทำให้เราก้าวเดินไปข้างหน้า เพราะเราจะเห็นโอกาสต่าง ๆ รอบตัวเรา และอาจจะกว้างกว่าก่อนที่เราจะถูกบอกเลิกจ้างเสียอีก จากที่ไม่เคยได้มีเวลา หรือมีโอกาสทำในสิ่งที่อยากทำและยังไม่ได้ทำ เหมือนเป็นการชารจ์แบดเตอรี่ให้กับตัวเอง เป็นการก้าวออกจาก comfort zone เราจำเป็นต้องสร้างความพร้อมให้กับตัวเอง การถูกบอกเลิกจ้างจึงเป็นเหมือนบทเรียนให้เราต้องเตรียมตัวจากผลกระทบทั้งการสูญเสียงานและสภาวะจิตใจเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องไม่ด้อยค่าตัวเอง ไม่สร้างความคิดเชิงลบ และที่ต้องคำนึงถึงคือการสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพเพราะคนที่เรารู้จักจะถือเป็นแหล่งงานที่ซ่อนอยู่ (Hidden Market)
การยอมรับความจริงคือต้องพยายามกำจัดความรู้สึกที่ก่อให้เกิดความคิดหรือการกระทำในเชิงลบ ซึ่งอาจจะต้องใช้ความช่วยเหลือจากการพูดคุยในเชิงบวก ให้มองเห็นคุณค่าของตัวเอง ความสามารถที่ถ่ายทอดได้ ทักษะและความชำนาญเฉพาะทางที่ทำให้เราเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน แนวโน้มของธุรกิจที่เหมาะกับความสามารถของเรา รวมทั้งการที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม Upskill/Reskill เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้กับตัวเอง ซึ่งน้อยคนมากที่จะสามารถพิจารณาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง
2. ฟื้นฟูจิตใจ
บางครั้งความจำเป็นทางด้านการเงินทำให้เรารีบแก้ปัญหาตรงหน้าโดยไม่ได้คิดไตร่ตรองให้ดี เพราะเราจะตั้งธงไว้ในสมองอย่างเดียวเลยคือต้องรีบหางานทำโดยเฉพาะคนที่เป็นหลักของบ้าน โดยไม่ได้คิดถึงว่าอะไรสำคัญที่สุดสำหรับตัวเอง บางครั้งการตัดสินใจอย่าวรวดเร็วโดยไม่ได้คิดให้ถ้วนถี่อาจทำให้เราลงเอยกับงานที่ไม่ได้ถนัด ในองค์กรที่ไม่คุ้นชิน หรือได้เงืนเดือนที่น้อยกว่า แล้วก็ทำให้ต้องหางานใหม่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง
การถูกบอกเลิกจ้างทำให้แผนชีวิตที่วางไว้พังทะลายลง เช่น มีแผนว่าจะซื้อบ้านในปีหน้า มีแผนว่าจะแต่งงานหรือมีลูกในปีหน้า เชื่อว่าแผนการนี้จะถูกระงับไว้จนกว่าเราจะรู้สึกได้ว่าเราได้ความมั่งคงและเสียรภาพกลับมาทั้งทางการเงิน สถานภาพทางสังคม รวมทั้งขจัดความเสี่ยงใดใดออกไปแล้ว เราจึงจะดึงแผนชีวิตนี้ออกมาปรับใหม่ ซึ่งการวางแผนครั้งนี้จะมีความรอบคอบมากขึ้น มีการประเมินความเสี่ยง และทำให้เราไม่สร้างหนี้สินที่เกินตัวจนรับผิดชอบไม่ไหว ซึ่งถือว่าเราควบคุมทั้งสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
ขั้นตอนเหล่านั้นเป็นเพียงแค่การฟื้นฟูจิตใจ สร้างความพร้อมในรูปแบบใหม่ให้ตัวเอง วางแผนชีวิตในอนาคตได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลและปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของชุมชน ประเทศและในระดับโลกอย่างมีชั้นเชิงที่เหมาะสม และมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อตัวเองและครอบครัว
3. ประเมินทักษะและประสบการณ์
การพูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญโดยใช้กระบวนการที่ผ่านการทดลองที่เห็นผลชัดเจน รวมทั้งการประเมินตนเองด้วยกระบวนการต่าง ๆ และการแบบสอบถามเชิงพฤติกรรมและจิตวิทยาช่าวยให้เราเห็นตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนชีวิทบทใหม่ไม่ใช่แค่ตัวเองแต่กับครอบครัวและคนที่มีผลกระทบร่วมจากการที่เราถูกออกจากงาน ที่สำคัญเป็นส่วนผลักดันที่ทำให้เราหางานได้เร็วขึ้นอีกด้วย
การประเมินตัวเอง ไม่ว่าในเชิงทักษะความสามารถ ความชอบ พรสวรรค์ และในเชิงจิตวิทยา ไม่เพียงแต่ช่วยให้เรารู้จักและเข้าใจตัวเองได้ดีขึ้น แต่ช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่นรวมทั้งความจำเป็นและความต้องการของผู้อื่นได้ดีขึ้น ทำให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับคนเหล่านั้น สร้างความสัมพันธ์ได้ดีขึ้น แก้ปัญหาได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลโดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งของตัวเองและคนอื่นได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเปิดใจรับความเปลี่ยนแปลง โอกาสใหม่ ทำให้เรามีความสุขมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญแบบสำรวจบางอย่างสามารถบอกได้ถึงจุดเด่นของเราได้อีก เช่น ความชำนาญในการวางแผน การแก้ปัญหา ความเป็นผู้นำ และอื่นอีกมากมาย ซึ่งอาจจะเป็นตัวแปรในการวางแผนการหางานที่เหมาะสมกับเราได้ดีกว่า ช่วยกำหนดอาชีพในอนาคตได้ตรงกับความต้องการของเราได้ดีกว่า หรืออาจจะทำให้เราเปลี่ยนอาชีพจากความเป็นลูกจ้างไปเป็นเจ้าของกิจการเองเลยก็เป็นได้
4. อัปเดต Resume
เมื่อเราปรับพื้นฐานเหล่านี้ได้แล้ว เท่ากับเรากำหนดแนวทางวางแผนอาชีพที่เหมาะสมสำหรับเราทั้งในอนาคตอันใกล้และยืนยาวไปในอนาคตรวมทั้งการปรับพฤติกรรมการใช้เงินและลงทุนเพื่อความพร้อมในอนาคต ก็มาเข้าถึงกระบวนการสมัครงาน มีคนกล่าวไว้ว่า Resume คือประตูสู่การได้งาน เมื่อเรากำหนดทิศทางอาชีพในอนาคตของเราได้แล้ว เราก็จะสามารถบอกคนอื่นถึงความสามารถและคุณสมบัติรวมทั้งประสบการณ์การทำงานของเราผ่าน Resume แต่ขั้นตอนในการเขียน Resume มีรูปแบบมากมาย เราควรจะเลือกแบบไหน คงไม่ได้อยู่ที่ความชอบอย่างเดียว เพราะการคัดเลือก Resume ไม่ได้เหมือนสมัยก่อนอีกแล้วเพราะทุกอย่างใช้เทคโนโลยี สมัครงานออนไลน์ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คนสมัครแต่ละตำแหน่งมากยิ่งขึ้น บทความต่าง ๆ ใน LinkedIn ได้มีเขียนถึงสถิติต่าง ๆ ไว้ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรต้องพิจารณาถึงกระบวนการที่เหมาะสมที่เราต้องใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิผล เช่น
- มีผู้สมัครกับบริษัทใหญ่ ๆ และเป็นที่ต้องการร่วมงานด้วยสูงถึง 250 ต่อ 1 ตำแหน่ง แปลว่าการแข่งขันสูงมาก ผู้รับสมัครจะอ่าน Resume ทั้ง 250 ฉบับหรือไม่
- จากจำนวนผู้สมัครสูงมาก จึงต้องมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยคัดกรอง Resume ทั้งหมดเพื่อให้ได้ผู้สมัครทีเหมาะสมจริง ๆ สถิติแจ้งไว้ว่า มีเพียง 2% เท่านั้นที่ถูกคัดเลือกไว้เป็น Shortlist นั่นหมายถึงว่า 98% ของ Resume ถูกทิ้งหรือไม่รับพิจารณา
- เทคโนโลยีที่นำมาช่วยในการคัดกรองก็คงไม่พ้น AI ซึ่งในกระบวนการคัดสรรบุคคลจะเรียกว่า ATS- Applicant Tracking System ซึ่งใช้เวลาเพียง 6 วินาทีในการคัดกรอง นั่นหมายถึงการเขียน Resume จึงต้องมีความเข้าใจการทำงานของ AI เพื่อที่เราจะได้เข้าไปอยู่ใน Shortlist ให้ได้
- การเขียน Resume จึงต้องใกล้เคียงกับความคาดหวังของผู้รับสมัครมากที่สุด ดังนั้นกระบวนการเหล่านี้จึงต้องพึ่งผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะขั้นตอนเหล่านั้นผ่านการสำรวจจากผู้รับสมัครและบริษัทจัดหางาน นำมาปรับใช้ทดลองและได้ผลอย่างแน่นอน และที่สำคัญผู้เชี่ยวชาญมีความเข้าใจตลาดเป็นอย่างดี จะช่วยแนะนำการเขียน เทคนิคการสมัครงาน รวมทั้งแหล่งงานต่าง ๆ ได้อีกด้วย
5. เริ่มหางานใหม่
การเริ่มหางานใหม่จึงไม่ใช่การหว่าน Resume ออกไปกับทุกบริษัทแต่ไม่ได้ตรงกับความต้องการทั้งของผู้สมัครและผู้รับสมัคร การวางแผนการสมัครงานที่เหมาะสม ช่วยให้ประหยัดเวลา ได้งานที่ตรงกับความสามารถ ได้เงินเดือนตรงกับที่คาดหวัง
สรุป
การจัดการเหล่านี้จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป แต่เป็นการเตรียมความพร้อมอย่างมืออาชีพ เหมาะสมกับความต้องการของเราและตลาดแรงงาน และคุ้มค่ากว่าการสมัครงานอย่างไร้ทิศทาง และเสียเวลาเป็นอย่างมากเกินจริง
LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร
LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ [email protected] หรือโทร 022586930-35