จากประสบการณ์ในการทำ Outplacement มายาวนานกว่า 23 ปี ของ LHH Thailand คำถามที่มักได้ยินเกี่ยวกับการบอกเลิกจ้างคือ “บาปไหม…ยุติธรรมรึเปล่า?” ในวันบอกเลิกจ้าง (Notification Day) Manager หรือ Team leader จะเป็นผู้รับหน้าที่ในการบอกเลิกจ้าง เราเรียกหน้าที่เฉพาะกิจตรงนี้ว่า “Tell manager” มักถูกมองในแง่ลบว่าเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้บอกข่าวร้าย (A person who got assigned to deliver bad news) แต่ความจริงแล้ว Tell manager มีหน้าที่ในการดูแลพนักงานที่ต้องบอกเลิกจ้าง และพนักงานที่ยังอยู่ เพราะ ผู้ที่เหมาะสมในการรับบทบาท Tell manager ควรมีความใกล้ชิดกับพนักงานในทีม หรือ เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพนักงานที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากรู้จัก คุ้นเคยกับพนักงานเป็นอย่างดี ดังนั้น คุณและอีกหลาย ๆ คนที่เข้ามาทำหน้าที่เฉพาะกิจตรงนี้ อาจมีความรู้สึกบาป และเกิดความเครียดขึ้น เพราะต้องรับมือกับการเตรียมการบอกเลิกจ้างให้รัดกุม และรับมือกับพนักงานที่ยังอยู่กับองค์กรให้ไม่เกิดคลื่นใต้น้ำหรือสภาวะอารมณ์ที่เกิดจากเหตุการณ์ จนส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ความกังวลเรื่องของ บาป-บุญ ในกรณีที่ต้องมีการบอกเลิกจ้างนั้นจึงเป็นเรื่องของความรู้สึก (Emotion) การทำงานร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความผูกพัน อนึ่ง แม้คุณจะไม่รู้จักพนักงานคนหนึ่งดีพอ ที่จะให้มีความรู้สึกผูกพันใด ๆ มากนัก แต่ก็คงอดคิดไม่ได้ว่า เขาเป็นคนอย่างไร และเขาสมควรได้รับสิ่งนี้ไหม แต่สิ่งที่ต้องตระหนักมากที่สุดในการบอกเลิกจ้าง ไม่ใช่ความกังวลในเรื่องของ บาป- บุญ ที่สำคัญบทบาทดังกล่าวมิได้เกิดมาจากการกระทำที่เป็นเหตุผลส่วนตัว หรือความเกลียดชังต่อพนักงานแต่อย่างใด แต่เป็นผลพวงอย่างหนึ่งที่เกิดตามมาจากการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เป็นเรื่องของความเหมาะสม เป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนทักษะให้สอดคล้องกับธุรกิจที่ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ดังเช่นสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นเรื่องของการพิจารณา คำนึงถึงกฎหมาย และ ผู้มีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพราะการบอกเลิกจ้างที่มีประสิทธิภาพ คือการให้เกียรติพนักงานที่เคยได้ร่วมงานกันมาแต่ต้องลาจากกัน เพราะเหตุผลทางด้านธุรกิจและเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างองค์กร และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อองค์กรให้กับพนักงานที่ยังอยู่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงองค์กร เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร และในฐานะผู้นำ การเป็น Tell manager ควรหาวิธีในการลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างหรือในภายหลังการบอกเลิกจ้าง อาทิ การจัดการกับอารมณ์ เศร้า โกรธ และเสียใจ การรับมือกับพนักงานที่มีอิทธิพลในหมู่เพื่อนร่วมงาน และการรักษาความสัมพันธ์ให้เกิดความรู้สึกดีทั้ง 2 ฝ่าย
หากวันหนึ่งคุณต้องเป็นผู้รับหน้าที่บอกเลิกจ้าง ความกังวลเรื่องศีลธรรมและการผิดบาปควรเป็นเรื่องรอง แต่ควรมุ่งความสนใจไปที่การส่งพนักงานที่เคยร่วมงานด้วย ให้มีความรู้สึกภาคภูมิใจต่อองค์กรในวันที่ต้องสิ้นสุดการเป็นพนักงาน ไม่ว่าจะด้วยการดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย และเป็นธรรมโดยปรึกษากับฝ่ายกฎหมายของบริษัท หรือการใช้บริการจากที่ปรึกษาในการทำ Outplacement เพื่อการบอกเลิกจ้างอย่างมีประสิทธิภาพและใช้บริการสานต่ออาชีพ (Career transition) เพื่อช่วยหางานใหม่ เพิ่มโอกาสให้กับพนักงานผู้ที่ได้รับผลกระทบได้งานที่เหมาะสมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะเมื่อคุณส่งพนักงานให้ก้าวสู่อีกหนึ่งบทบาทใหม่ได้ดีแล้ว ความกังวลเรื่องบาปและความรู้สึกผิดจะหายไปด้วย
ติดต่อ LHH Thailand เพื่อให้คำปรึกษา ด้าน Outplacement service และ บริการสานต่ออาชีพ (Career transition)
ได้ที่ 022586930-35 และ [email protected]
ติดตามข่าวสาร และกระแสการบอกเลิกจ้างได้ที่:
Facebook: Lee Hecht Harrison Thailand
LinkedIn: LHH Thailand