วิธีสร้างทีมที่มีความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological safety)

Published on
Written by

คาดว่าในหลายองค์​กรล้วนมีการกำหนดการพัฒ​นาผู้นำและผู้บริหาร​ให้เน้นในการทำงานอย่างมีส่วนร่วม​และสนับสนุน​ในการทำงาน​เป็น​ทีมอย่างมีประสิทธิภาพ​มากที่สุด​

โดยการเน้นผู้นำให้รู้จัก​เริ่มจากทักษะ​ภายในสู่​ภายนอก​ กระบวนการ​ของ​การเข้าใจตนเองและรู้จัก​ตนเอง​ (Self), กระบวน​การของการรวบรวม​ทักษะการเป็นผู้นำการสร้าง​แรงบันดาลใจ​และกระตุ้น​การทำงานร่วมกัน​ (Team), และท้ายสุดคือกระบวนการ​ของการตั้งเป้าหมาย​และพันธกิจ​ให้เกิดผล​ (Organization)

คงไม่ต้องอธิบาย​ว่าทำไมทีมถึงสำคัญ​เพราะ​คิดว่า​ผู้อ่านทราบดีอยู่แล้ว​แน่นอน​ แต่อยากจะมาช่วยชี้ให้เห็นถึงอาการสุ่มเสี่ยง​ หรือจุดที่ต้องระมัดระวัง​ หรือข้อบ่งชี้​ว่าทีมของเรานั้นกำลัง​ขาดสภาวะที่เรียกว่า​ ความปลอดภัย​ทางจิตใจ​ ​(Psychological safety)

Pychological safety คืออะไร

Pychological satety หรือความปลอดภัยทางจิตใจ คือ การให้ความสำคัญในบรรยากาศการทำงานและการปฏิสัมพันธ์ที่ดีในทีม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความกล้าแสดงความคิดเห็น แชร์ไอเดียหรือการลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ โดยไม่มีความกังวัลเกี่ยวกับความผิดพลาดหรือการถูกตำหนิ

ทีมที่ขาดความปลอดภัย​ทางจิตใจ​มีลักษณะ​อย่างไร​

  1. ความตึงเครียด​ของการกลัวความผิดพลาด​และกลัวการถูกลงโทษ​ ลักษณะ​นี้คนในทีมจะไม่ค่อยกล้าที่จะลงมือทำอะไรใหม่ ๆ​ เพราะว่า​กลัว​ที่จะรับกับความผิดพลาด​นั้นๆ​ และส่งผลกระทบ​ต่อชื่อเสียง​หน้าที่การงานของตนเอง​ จึงเป็นแนวต้องสั่งเท่านั้นถึงจะลงมือทำ​ และหากผิดพลาด​ก็จะบอกเป็นนัย​ว่าเค้าถูกรับคำสั่งมาและมีหน้าที่แค่ทำตามไม่มีปากเสียง​ใด ๆ
  2. ไม่กล้าที่จะคิดออกนอกกรอบ​ หรือแชร์​ไอเดีย​ใหม่ ๆ​ และเกิดการไม่เปิดกว้างในการยอมรับไอเดียของกันและกัน​ส่งผลให้เกิดการยอมรับ​และให้เกียรติ​ซึ่งกันและกัน​น้อยลงไปด้วย
  3. เกิดการทะเลาะ​กันได้ง่ายขึ้น​ เนื่องจาก​ทุกคนมุ่งเน้นไปที่ความเข้าใจหรือความต้องการ​ของตนเองเป็นหลัก​ มองเห็นปัญหา​หรืองานตัวเองเป็นที่ตั้ง​ เพราะ​ฉะนั้นงานชั้นต้องมาก่อน
  4. ส่งผลกระทบ​ด้านร่างกาย​และสุขภาพ​ทางจิต​ การเบื่อหน่าย​ สภาวะ​ต้องระแวดระวัง​ภัยของตัวเอง​ สถานการณ์​เลือกฝ่าย​ การมีการเมือง​ในที่ทำงาน​ การรู้สึก​ภาวะหมดไฟ อาการเจ็บป่วย​จากสถานการณ์​ปัจจุบัน​ที่เกิดความเครียด​อยู่อย่างสม่ำเสมอ​ โดยไร้ซึ่งคนเป็นที่พักพิงทางจิตใจ​หรือคนที่เกื้อกูล​กัน
  5. อัตรา​การลาออกจากงานที่พุ่งสูงขึ้น​ ไม่ว่าเราจะมีวิธีคัดสรร​ เฟ้นหาคนคุณภาพ​แค่ไหน​ หากเราไม่สามารถ​สร้างสภาพ​แวดล้อม​ให้เอื้อต่อการน่ามาทำงาน​ หรือน่ามาร่วมทีมด้วยนะ​ หลายคนมักจะถอดใจ​และเลือกที่จะออกจากความยากลำบากนี้ไปสู่ที่ใหม่​ แน่นอน​ว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบ​ต่อความคล่อง​ตัวของการทำงาน​ เนื่องจาก​ารผลัดคนหน้าใหม่ก็ทำให้ต้องมีการเทรนด์​งานใหม่​ ทั้งภาระงานและภาระสอนก็ทำให้งานมีปัญหา​อย่างมากในที่สุด

หลักสูตร​ Build psychological safety

LHH​ จึงขอนำเสนอหลักสูตร​ Build psychological safety​ ทำให้เรื่องที่ยากในการทำความเข้าใจ​ สามารถ​จับต้องได้มากที่สุด​ เนื่องจาก​เมื่อพูดถึง​ สภาวะ​ปลอดภัย​ทางจิตใจ​ มันช่างดูกว้างมากเหลือเกิน​ และการจะลงมือทำดูช่างคลุมเครือ​ แต่ที่​ LHH​ เรานำเรื่องที่เกี่ยวกับ​การพัฒนา​  EQ​ ลงลึกไปที่การลงมือปฎิบัติ​นั่นเอง

โดยเริ่มที่

  1. Universal Psychological Safety Needs

กฎสากล 5 ข้อหลัก​ ​ Predictability, Options, Equity, Status, Trust ​เพื่อการสร้างความปลอดภัย​ทางจิตใจ​ เรียนรู้​จากสถานการณ์​จำลอง​ ทำการวิเคราะห์​สถานการณ์​ แสดงความคิดเห็น​จากมุมมอง​ของแต่ละกลุ่ม​ รวมถึงอ่านผลลัพธ์​ รายบุคคล​ในหัวข้อ​ Psychological Safety​ Needs Assessment​

  1. Understanding Your Psychological Safety Needs

ทำความเข้าใจ​จุดที่สร้างสภาวะ​ความปลอดภัย​ทางใจให้กับเรา​ ให้รู้ว่าหัวข้อใดที่สำคัญ​กับเราที่สุด​ แต่ละบุคคล​มีจุดที่เน้นหนักและให้ความสำคัญแตกต่าง​กันไป​ ตระหนัก​รู้ถึงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความกังวล​ใจและการควบคุมดูแล​อารมณ์​ของตนเองเมื่อเกิดเหตุ​การณ์​กระตุ้นนั้น ๆ เกิดขึ้น​ เรียน​รู้การบ่มเพาะความรู้สึก​ และกิจกรรม​ที่จะสนับสนุน​สภาวะความมั่นคง​ทางจิตใจ​จากภายในเริ่มจากตนเอง​

  1. Building​ Psychological​ Safety​ with others

ทำความเข้าใจ​ถึงสถานการณ์​ที่ต้องใช้เทคนิค​ในการรับมือเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝัน​ สามารถ​มองเห็น​ถึงความแตกต่าง​ของสมาชิกในทีมว่าแต่ละคน​ ต้องการ​ความช่วยเหลือ​ให้เกิดสภาวะ​ปลอดภัย​ทางจิต​ใจในด้านใดบ้าง​ และเข้าใจกระบวนการ​สนับสนุน​ให้ถูกวิธี

  1. Building​ Psychological​ Safety​ on Teams

ทีมที่สมบู​รณ์แบบมีลักษณะ​อย่างไร​ มีข้อสังเกต​อย่างไร​ และในฐานะของผู้นำคุณ​จะกลับไปปฏิบัติ​หรือเปลี่ยนแปลง​สิ่งใดเป็นอันดับแรกเพื่อการสร้าง​ทีมที่มั่นคงขึ้น

  1. Actions

วางแผน​การพัฒนา​การนำไปปฏิบัติ​บัติใช้อย่างเป็นขั้นตอน​ ประยุกต์​ในชีวิต​ประจำวัน​ ในบทสนทนา​ การเขียน​ การประชุม​ การมีส่วนร่วม​ในกิจกรรม​ และการเสนอไอเดีย​ การฟีดแบ็ก  การ​โค้ชหรือการเมนเทอร์​ หาจุดร่วม​ในการตัดสินใจ​ร่วมกันนำข้อสรุปจากหลักการนี้ไปใช้ในทีมอย่างเต็มที่​

ดังนั้นการสร้างทีมที่มีศูนย์​รวมทางใจที่มั่นคงแข็งแรง​ จะเป็น​เรื่อง​ง่ายที่ไม่ว่าใคร ๆ เมื่อเข้าใจวิธีการ​ก็ทำได้ทั้งนั้น​ และทำได้ทันทีหลัง​จากจบการอบรม​แน่นอน​