วิธีตอบคำถาม Tell me about your self ยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ

Published on
Written by

เป็นคล้ายๆ เนื้อหาที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวสำหรับการตอบคำถาม Tell me about your self สำหรับอาชีพหนึ่ง ถ้าเป็นอาชีพสาย IT หรือสาย software engineers น่าจะเข้ากับในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างในบทความเช่น ต้องฝึกฝนยังไง ตอบคำถามต้องต้องประมาณไหน แบบไหนดี ไม่ได้กับตัวเรา แบบนี้

มีคนเคยพูดว่า Resume ทำให้เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์งาน และการสัมภาษณ์งานทำให้เรามีโอกาสได้งาน การแนะนำตัวในการสัมภาษณ์งานจึงมีความสำคัญมาก ถือเป็นโอกาสแรกที่เราจะสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์ ระยะเวลาในการแนะนำตัวควรจะไม่เกิน 3 นาที เพราะผู้สัมภาษณ์จะสามารถโฟกัสได้ดีในช่วงเวลานั้นๆ

คำถามที่ผู้สัมภาษณ์น่าจะใช้เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์แนะนำตัวเอง

  • ช่วยแนะนำตัวเองหน่อยค่ะ/ครับ
  • เล่าเกี่ยวกับตัวคุณเองหน่อยได้ไหม?
  • ช่วยสรุปประวัติส่วนตัวและการทำงานของคุณหน่อยค่ะ/ครับ
  • เล่าถึงประสบการณ์ทำงานของคุณหน่อยค่ะ/ครับ
  • เล่าให้ฟังหน่อยค่ะ/ครับ มีประสบการณ์อะไรมาบ้าง

หลักการง่ายๆ ให้คิดถึงว่า เราทำอะไรมาก่อนหน้านี้ ปัจจุบันเราทำอะไร และในอนาคตเราอยากทำอะไร แน่นอนว่าหัวข้อที่จะพูดต้องตรงกับตำแหน่งที่เรากำลังจะสัมภาษณ์ แต่ไม่ว่าอย่างไรการเตรียมตัวเพื่อให้ครอบคลุมหัวข้อหลักจึงมีความจำเป็นมาก

หัวข้อที่ควรจะพูดมีอะไรบ้าง ซึ่งก็จะมี 3 หัวข้อหลัก

  1. Who are you? ซึ่งในที่นี้นอกจากจะบอกชื่อ นามสกุลแล้วให้บอกประวัติการทำงาน และการศึกษา แต่จะพูดอย่างไร ให้เราดูน่าสนใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ให้ลองนึกถึงจุดเด่นของตัวเราที่มีคนเห็นจนเป็นภาพจำของทุกๆคน ลองเรียบเรียงจากข้อมูลดังนี้
  • ขื่อ นามสกุล
  • ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ที่สอดคล้องกับงาน
  • คุณสมบัติและความสามารถ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน

ตัวอย่างเช่น

สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ……………. มีประสบการณ์ด้านงานฝ่ายบุคคลมาตลอด 8 ปีเริ่มตั้งแต่เป็น HR Officer 2 ปี HR Lead 3 ปีและปัจจุบัน HR Manager ของบริษัท…….. ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมโรงงานผลิต Semi-Conductor เป็นเวลากว่า 3 ปีหลัง ดิฉันจบการศึกษาปริญญาโทด้านการพัฒนาองค์กรที่มหาวิทยาลัย…… มีความชำนาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลตั้งแต่วางแผนอัตรากำลังในบริษัทขนาด 200 คนจนถึง 800 คนในปัจจุบัน รับผิดชอบในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลให้เป็นไปตามแผนอัตรากำลังในแต่ะละไตรมาส เป็นผู้นำในการใช้ application ในการสรรหาพนักงานเพื่อให้ได้คนที่มีความสามารถและเข้ากับองค์กรได้จริง และออกแบบขั้นตอนการสรรหาพนักงานควบคู่กับการทำ Branding สร้างภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการพัฒนาบุคคลากร ได้มีโอกาสร่วมมือกับหัวหน้าฝ่ายในการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน วางแผนการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละฝ่ายทั้งรายไตรมาสและรายปี กำกับการประเมินผลการทำงานและจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทและกฏหมายแรงงาน และล่าสุดได้มีโอกาสทำงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation)

  1. ความชำนาญพิเศษ หรือความโดดเด่นทางวิชาชีพ ชึ่งอาจจะพูดถึงความสำเร็จเฉพาะเรื่องไปเลยก็ได้

ตัวอย่างเช่น

ต้นปีที่ผ่านมาได้มีโอกาส lead Digital Transformation เรามองว่าการปรับเปลี่ยนแบบ big bang อาจจะสร้างปัญหามากกว่าการปรับเป็น phase เราจึงเลือกทำเป็น phase กำหนด pilot group โดยเริ่มจากภายในฝ่ายบุคคล ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายขายและการตลาดซึ่งมีพนักงานอยู่ประมาณ 70 คน การที่เราต้องสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมใหม่ในองค์กร เราจึงคิดว่าใครควรจะเป็นผู้นำในการ lead ขั้นตอนเหล่านี้ เราจึงเลือกจากผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดใน 3 หน่วยงานและตั้งทีมเพื่อนำคนในแต่ละทีมให้เข้าใจในภาพเดียวกันก่อนว่า Digital Transformation คืออะไร จะไปในทิศทางไหน สร้างให้ทุกคนมี Mindset เดียวกันก่อน มีการวิเคราะห์ความสามารถโดยรวมของพนักงานและควรต้องจัดอบรมทักษะดิจิทัล และUpskill/Reskill ของแต่ละแผนกอย่างไรบ้าง และถือเป็นการพัฒนาระบบ Talent Management ไปด้วย หลังจากนั้นได้ทำการประเมินโดยใช้ IDP และ 360 องศาผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่ายินดีพบว่าอัตราการลาออกลดลง 25% engagement เพิ่มขึ้น 40% และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อีกด้วย

  1. แรงจูงใจ โดยอาจจะพูดถึงเหตุผลที่สนใจตำแหน่งงานนี้ หรือเป้าหมายในอาชีพ

ตัวอย่างเช่น

ดิฉันสนใจตำแหน่งนี้เพราะความท้าทายของตำแหน่ง อยากมีโอกาสที่จะได้นำประสบการณ์มาใช้และมีส่วนร่วมพัฒนาองค์กร และที่สำคัญองค์กรของคุณมีวิสัยทัศน์ที่ตรงกับเป้าหมายของดิฉัน

นอกจากนั้นการแนะนำตัวสำหรับผู้มีประสบการณ์แต่ละช่วงอายุงานอาจจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  1. ประสบการณ์ 3-5 ปี

– เน้นผลงานและทักษะที่พัฒนาขึ้น

– แสดงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้

– ยกตัวอย่างโครงการสำคัญ

ตัวอย่างเช่น

“ดิฉันมีประสบการณ์ 4 ปีใน [สาขา] ได้พัฒนาทักษะ [ระบุทักษะ] และมีส่วนร่วมในโครงการ [ชื่อโครงการ] ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กร”

  1. ประสบการณ์ 7-10 ปี

– เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

– แสดงความเป็นผู้นำและการบริหาร

– นำเสนอผลกระทบเชิงกลยุทธ์

ตัวอย่างเช่น

“ผมมีประสบการณ์ 8 ปีในการบริหาร [ตำแหน่ง] สามารถนำทีมให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจ และมีความเชี่ยวชาญใน [ระบุความเชี่ยวชาญ]”

  1. ประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป

– เน้นความเป็นมืออาชีพระดับสูง

– แสดงวิสัยทัศน์และนวัตกรรม

– นำเสนอผลงานเชิงกลยุทธ์ที่สร้างผลกระทบ

ตัวอย่างเช่น

“ด้วยประสบการณ์ 12 ปี ดิฉันได้พัฒนานวัตกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงใน [อุตสาหกรรม] และมีความเชี่ยวชาญในการวางกลยุทธ์องค์กร”

สิ่งที่ควรระวังและไม่ควรพูดในการสัมภาษณ์งาน คือ

– ไม่เล่าประวัติส่วนตัวยาวเกินไป

– หลีกเลี่ยงการพูดถึงข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน

– ไม่นินทาหรือวิจารณ์หัวหน้าหรือบริษัทเก่า

– หลีกเลี่ยงการพูดถึงปัญหาส่วนตัว

– ไม่แสดงความคิดเห็นในเชิงลบ

เทคนิคเพิ่มเติมที่ควรตระหนัก

– ยิ้มและมีบุคลิกมั่นใจ

– ใช้น้ำเสียงกระตือรือร้น

– กระชับ ชัดเจน และน่าสนใจ

– ระยะเวลาที่เหมาะสม ประมาณ 1-2 นาทีไม่ควรเกิน 3 นาที

– ปรับเนื้อหาให้เหมาะกับตำแหน่งงาน

– เน้นคุณค่าที่จะมอบให้องค์กร

– มีความมั่นใจแต่ไม่เย่อหยิ่ง

– เตรียมตัวและฝึกซ้อมล่วงหน้า

การเตรียมตัวที่ดี การฝึกซ้อมนอกจากจะช่วยสร้างความมั่นใจแล้ว ทำให้เราสามารถปรับเนื้อหาในการพูดได้ตรงกับคุณสมบัติและความต้องการขององค์กรได้อย่างเหมาะสม การพูดที่กระชับและชัดเจนก็ช่วยให้ผู้สัมภาษณ์ได้เห็นความตั้งใจและความพร้อมของผู้ถูกสัมภาษณ์อีกด้วย

ขอให้ทุกท่านที่กำลังจะมีสัมภาษณ์งานในเร็วๆนี้ ประสบความสำเร็จและได้งานตามที่หวัง