มาทำความเข้าใจ “เงินชดเชย” กันก่อนว่าเงินชดเชยคืออะไร และได้จากอะไรบ้าง
“เงินชดเชย” เป็นเงินก้อนที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานจากการถูกเลิกจ้าง สิ้นสุดสัญญาจ้าง หรือเกษียณอายุ หรือถูกไล่ออก หรือลาออก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งหลักเกณฑ์การจ่ายเงินชดเชยก็มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุงาน ฐานเงินเดือน และเงื่อนไขของแต่ละบริษัท เงินชดเชยที่ได้รับจากการเลิกจ้างถือเป็นเงินได้ตามกฎหมาย นั่นหมายถึงว่าผู้ที่ได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วย และวิธีการคำนวณภาษีก็แตกต่างกัน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายให้ลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างเลิกกิจการ หรือลูกจ้างต้องออกจากงานเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ซึ่งมีอัตราค่าชดเชยที่ต้องคำนวณตามอายุงานที่ทำงานกับนายจ้างรายนี้ตามอัตราเงินเดือนล่าสุด
การบอกเลิกจ้างยังมีรายละเอียดดังนี้
- ได้รับค่าชดเชยเพราะถูกเลิกจ้าง การที่นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้าง กรณีนี้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
- ได้รับค่าชดเชยเพราะเกษียณอายุ กรณีนี้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
- ในกรณีที่เป็นสัญญาจ้างที่ระบุระยะเวลาจ้าง
- ได้รับค่าชดเชยในกรณีที่เป็นสัญญาจ้างที่ระบุระยะเวลาจ้างแน่นอน นายจ้างไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง หากเลิกจ้างก่อนครบกำหนดสัญญาจ้าง และจำนวนเงินค่าชดเชย ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการทำงาน ของลูกจ้าง
ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างทำสัญญาจ้าง 2 ปีโดยระบุระยะเวลาแจ้งล่วงหน้า 60 วัน เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี แต่นายจ้างต้องการเลิกจ้าง ถึงแม้ว่านายจ้างแจ้งล่วงหน้า 30 วันลูกจ้างยังคงได้รับค่าชดเชย 90 วัน
แต่ในกรณีเดียวกัน ถ้านายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าตามระยะเวลาที่ระบุในสัญญาจ้างก็ตาม นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยคิดเป็นค่าจ้างเท่ากับระยะเวลาที่ควรแจ้งล่วงหน้าและอาจต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มเติม มิเช่นนั้นนายจ้างอาจถูกฟ้องร้องกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
- ได้รับค่าชดเชยในกรณีที่เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน นายจ้างต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าตามกฎหมายและจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างทำงานมา 5 ปีต้องจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง 180 วัน
นอกเหนือจากนี้ยังมีเงินชดเชยพิเศษอีก ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพิ่มเติมจากค่าชดเชยปกติ จะรวมถึงเงินชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน เงินชดเชยพิเศษโดยคิดจาก 15 วันต่อการทำงาน 1 ปีสำหรับลูกจ้างที่ทำงาน 6 ปีเป็นต้นไปแต่ไม่เกิน 360 วัน
- ไม่ได้รับค่าชดเชยในกรณีถูกไล่ออก เนื่องจากความผิดร้ายแรงเช่น ทุจริตต่อหน้าที่ ละเลยหน้าที่จนเกิดความเสียหายร้ายแรง ประพฤติตนไม่เหมาะสม ฝ่าฝืนกฎระเบียบของบริษัท หรือลาออก
การคำนวณภาษีจากการถูกบอกเลิกจ้าง
ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมี 2 ส่วนคือ
- เงินชดเชยที่รวมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้างและเงินชดเชยพิเศษ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินได้จากงานประจำ
- เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การคำนวณภาษีสามารถวางแผนภาษีได้อย่างเหมาะสม
การคำนวณภาษีค่าชดเชยเพราะถูกเลิกจ้าง
- ค่าชดเชยเพราะถูกเลิกจ้างที่ได้รับ 300,000 บาทแรกจะได้รับการยกเว้นภาษี เช่น หากได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างมา 450,000 บาท ค่าชดเชย 300,000 บาทแรกจะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วน 150,000 บาทที่เหลือจะต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยรวมกับรายได้อื่น ๆ ในปีภาษีนั้น ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90/91) เสียภาษีตามอัตราภาษีที่ในปีภาษีนั้น
- ค่าชดเชยเพราะเกษียณอายุหรือหมดสัญญาจ้างค่าชดเชยดังกล่าวจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีทั้งก้อน ไม่ได้รับยกเว้น 300,000 บาทแรกเหมือนกกรณีที่ถูกเลิกจ้างหรือไล่ออก
- ถ้าลูกจ้างมีอายุงานครบ 5 ปีขึ้นไปหรือมากกว่านั้น เมื่อได้รับเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้าง สามารถเลือกได้ว่าจะนำเงินชดเชยที่ได้มารวมคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี หรือจะนำไปแยกคำนวณก็ได้ ซึ่งหากเลือกแยกคำนวณภาษีจะต้องยื่นโดยแนบใบ ภ.ง.ด.90, 91 ทั้งนี้ การไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น ๆ จะทำให้เสียภาษีน้อยลง
- แต่ถ้าอายุงานไม่ครบ 5 ปี ในกรณีที่ทำงานกับบริษัทที่ได้รับเงินชดเชยยังไม่ครบ 5 ปี ต้องนำเงินที่ได้รับมาทั้งหมด ไปคำนวณภาษีรวมกับรายได้จากงานประจำ และรายได้จากช่องทางอื่น ๆ ด้วย โดยไม่สามารถแยกคำนวณเหมือนทำงานครบ 5 ปีได้
การคำนวณภาษีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
- เงินสะสม ซึ่งเป็นเงินที่ถูกหักจากเงินเดือนทุกเดือนเพื่อสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ผลประโยชน์ของเงินสะสม
- เงินสมทบ เป็นเงินที่นายจ้างสมทบเพิ่มให้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ผลประโยชน์ของเงินสมทบ
- ถ้าถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยที่มีอายุสมาชิกไม่ครบ 5 ปีและยังมีอายุไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ ต้องนำเงินในข้อ 2 – 4 มาเสียภาษีด้วย ส่วนเงินสะสมที่เราได้รับคืนมา ไม่ต้องนำมาเสียภาษี
- คงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและคงสถานะสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปได้ โดยที่ลูกจ้างและนายจ้างไม่ต้องส่งเงินสะสมและเงินสมทบอีกต่อไป โดยที่สามารถคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อบังคับของกองทุนต้องไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันออกจากงาน ซึ่งการคงไว้จึงไม่ต้องเสียภาษี เมื่อได้งานใหม่ และสามารถเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้แล้ว ค่อยโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิมไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ ในกรณีนี้ทำให้นับอายุสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างต่อเนื่อง เมื่ออายุสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกิน 5 ปี และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมด ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีทั้งจำนวน
- โอนย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เท่ากับว่ายังไม่มีการถอนเป็นเงินสดออกมา เราก็ยังไม่ต้องเสียภาษีสำหรับเงินก้อนนี้แต่อย่างใด
หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินจริง ๆ แนะนำให้เลือกขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อโอนไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ หรือโอนย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อที่จะไม่ต้องนำเงินก้อนนี้มาเสียภาษี
- เงินชดเชยจากการไล่ออก ในกรณีที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากมีความผิดร้ายแรง หรือเรียกว่าการไล่ออกนั้น จะไม่ได้ค่าชดเชยและไม่ได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี แต่ถ้าหากว่านายจ้างได้มีการจ่ายค่าชดเชยให้ ค่าชดเชยที่ได้รับ 300,000 บาทแรกจะได้รับการยกเว้นภาษี หากได้เกินกว่านี้ส่วนที่เกินมาจะต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
- เงินชดเชยลาออกเอง โดยปกติเมื่อมีการลาออกเองด้วยความสมัครใจ ทางนายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ แต่ในกรณีที่นายจ้างจ่ายเงินชดเชยซึ่งคำนวณตามกฎหมาย ก็ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินชดเชยดังนั้นต้องนำเงินชดเชยทั้งหมดที่ได้รับมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั่นเอง
- เงินชดเชยวันหยุดพักร้อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นพิเศษ นายจ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีให้กรมสรรพากรและผู้ถูกเลิกจ้างต้องนำเงินค่าชดเชยในส่วนนี้มาคำนวณรวมภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วย
- เงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคมจะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย จึงไม่ต้องนำไปรวมคำนวณรวมกับภาษีเงินได้ประจำปี
LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร
LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ [email protected] หรือโทร 022586930-35