ถูกเลิกจ้างทำให้เสียประวัติการทำงานหรือไม่

Published on
Written by

การถูกเลิกจ้างเป็นสถานการณ์ที่หลายคนอาจต้องเผชิญในเส้นทางอาชีพของตนเอง หลายคนอาจกังวลว่าการถูกเลิกจ้างจะส่งผลเสียต่อประวัติการทำงานหรือไม่ ความจริงแล้ว การถูกเลิกจ้างไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีประวัติการทำงานที่ไม่ดี ขึ้นอยู่กับการจัดการและการนำเสนอประสบการณ์ของคุณ การแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น การปรับตัว และการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนายจ้างในอนาคตได้

โดยก่อนอื่นเลยมี 2 หัวข้อที่จะต้องทำความเข้าใจกันก่อน และทั้งสองประเด็นและมีผลอย่างไรต่อการสมัครงานใหม่

  1. ประวัติการทำงานคืออะไร
  2. การถูกเลิกจ้างคืออะไร

ประวัติการทำงานคืออะไร

ประวัติการทำงาน คือการเขียนประสบการณ์การทำงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโดยย่อซึ่งไม่ควรเกิน 3 หน้าที่เราเรียกว่าเรซูเม่ Resume หรือจะเป็นรายละเอียดมีความยาวตามประสบการณ์ของผู้เขียนซึ่งเรียกว่า CV หรือ Curriculum Vitae เป็นที่แน่นอนว่าการเขียนเพื่อการใช้งานแตกต่างกัน แต่เนื้อหาที่ทั้งสองแบบต้องมีคือ

  1. ประสบการณ์และทักษะที่เชี่ยวชาญที่เกิดจากการทำงานที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้สรรหาเป็นคนพิจารณาจากส่วนนี้เป็นอันดับแรก ๆ
  2. ความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งผู้สรรหาจะพิจารณาจากการได้เลื่อนตำแหน่งในแต่ละครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการทำงานที่ผ่านมา และสามารถพิสูจน์ได้หรือวัดผลได้อย่างชัดเจน
  3. ความสามารถพิเศษหรือประกาศนียบัตรเฉพาะทางที่ใช้ทำงานที่ผ่านมา เช่น lean & Six sigma, google analytic, social media platform, digitalization, merge and acquisition และอื่น ๆ อีกมากมาย
  4. ความน่าเชื่อถือ ในที่นี้จะหมายถึง ข้อมูลถูกต้องและไม่เขียนเกินจริง หรือถ้ามีการเปลี่ยนงานบ่อย ก็ต้องเตรียมคำตอบที่เป็นจริงและเชื่อถือได้

การถูกเลิกจ้าง

การถูกเลิกจ้าง คือ การยุติสัญญาในการจ้างงานตามกฎหมาย สามารถแบ่งได้เป็น

  1. การถูกไล่ออก ซึ่งเกิดจากการที่ลูกจ้างทำผิดกฏบริษัทอย่างร้ายแรง หรือต้องคดีอาญา โดยที่บริษัทไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง
  2. การถูกบอกเลิกจ้างโดยที่บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย โดยรวมทั้งบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า และสาเหตุที่นายจ้างเลิกงานพนักงานมีหลายประการอาทิ เช่น
    • เหตุผลทางเศรษฐกิจ
    • ตำแหน่งที่เคยปฏิบัติไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปหรือยกเลิกไปเลย
    • การปรับโครงสร้างองค์กร
    • การใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนลักษณะงานนั้น ๆ
    • การควบรวมกิจการ
    • การปรับหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งงานนั้น ๆ ที่ต้องการความสามารถพิเศษ
    • การย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน และลูกจ้างไม่สะดวกในการเดินทาง
    • การปรับย้ายหน้าที่ที่ลูกจ้างไม่ต้องการไปปฏิบัติ
    • อื่น ๆ

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ลูกจ้างที่ออกจากงานจึงต้องสมัครงานใหม่ และการสมัครงานต้องใช้ resume หรือ cv ในการสมัครงานถือเป็นใบเบิกทางให้ผู้สรรหาบุคคลได้เข้าใจคุณสมบัติของผู้สมัครงาน เพื่อประกอบการตัดสินใจ

การถูกเลิกจ้างทำให้เสียประวัติการทำงานหรือไม่

ตั้งแต่เหตุการณ์ COVID19 ซึ่งส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรงต่อธุรกิจ การชะงักงันและชะลอตัวทางธุรกิจเป็นเวลาปี ๆ มีผลต่อธุรกิจที่ไม่ได้มีสายป่านยาวอย่างมากมาย ในขณะที่บริษัทที่พอมีกำลังก็เลือกที่จะปรับการดำเนินธุรกิจโดยการนำเทคโนโลยี ดิจิตอล เข้ามาใช้เพื่อยังคงสร้างรายได้ให้กับบริษัทและยังคงจำนวนพนักงานที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนในช่วงนั้น ๆ หรือแม้กระทั่งการศึกษาในขณะนั้นที่ยังคงต้องดำเนินต่อ นักเรียนและนักศึกษายังคงต้องเรียนหนังสือออนไลน์กันแบบ 100%  ถ้ายังจำกันได้การจ้างงานบุคคลากรที่มีความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นกว่า 200% และบริษัท IT ยักษ์ใหญ่ทำเงินได้มหาศาล

เมื่อเหตุการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ กลุ่มลูกจ้างเหล่านี้ก็ถูกบอกเลิกจ้างเป็นจำนวนมากทีเดียว เหตุการณ์นั้นยังคงมีผลต่อธุรกิจในปัจจุบัน เพราะนายจ้างเริ่มมองหาบุคคลากรที่สามารถปรับตัวและรู้จักใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี จึงมีผลต่อการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบและทักษะเฉพาะที่ต้องการมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเลิกจ้างจึงเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกองค์กร ทุกอุตสาหกรรม ขึ้นอยู่กับแนวโน้มความต้องการและคุณสมบัติของลูกจ้างในตลาดในอนาคต จึงถือได้ว่าการถูกเลิกจ้างไม่ได้ทำให้เสียประวัติการทำงาน แต่การที่จะให้ผู้สรรหาเชื่อว่า ลูกจ้างมีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ จึงต้องมีการเตรียมตัวให้เหมาะสม resume บอกถึงความสามารถที่ผ่านมา มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่ต้องมีการเตรียมความพร้อม

การเตรียมความพร้อมที่ดีที่สุดคือ การให้การอบรมทางด้าน Outplacement โดยบริษัทที่มีความชำนาญและมีชื่อเสียง เพื่อช่วยลูกจ้าง

  • ในการเขียนและปรับ resume ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ณ ปัจจุบัน และตอบโจทย์ความต้องการของนายจ้างมากที่สุด
  • การเตรียมตัวเพื่อการสัมภาษณ์ในแต่ละขั้นตอนไม่ว่า First screen, Line Manager หรือ Management review หรือ case presentation
  • การให้คำปรึกษาในการหางานทุกขั้นตอนตั้งแต่ การหางาน การสมัครงาน การติดตามผล และเป็นเครือข่ายเพิ่มช่องทางหางาน
  • การประเมินตนเองผ่านเครื่องมือเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

จากสถิติของบริษัท Deloitte การให้ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างเข้ารับการอบรมจากบริษัทที่ให้บริการทางด้าน Outplacement แสดงให้เห็นว่า

  1. รักษาและสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร ทำให้สร้างความเข้าใจในเชิงบวกต่อองค์กรมากขึ้น ส่งต่อค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย
  2. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างงานในอนาคต เพราะการใช้บริการ Outplacement ช่วยให้ลูกจ้างได้งานเร็วกว่า ช่วยลดระยะเวลาการว่างงานในตำแหน่งที่ต้องการหา
  3. 41% ของพนักงานที่ยังคงเหลืออยู่ในองค์กรไม่มีความสุขในการทำงานต่อไป
  4. 36% ของพนักงานที่ยังคงเหลืออยู่ในองค์กรไม่มีความต้องการที่จะผูกมัดกับบริษัท มีความมุ่งมั่นน้อยลง

ผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันและอาจจะมากกว่าที่เรานึกถึงเพราะพวกเขาเหล่านั้นผ่านการทำ Transformation และ Change management มามากมายและขั้นตอนได้ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ตามลำดับความจำเป็น ดังนั้นการจ้างงานจึงเป็นสิ่งที่ผู้สรรหาไม่ได้มองว่าการถูกเลิกจ้างเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ตัวลูกจ้างแสดงให้เห็นทัศนคติต่ออาชีพในอนาคตอย่างไรต่างหาก

สิ่งที่ลูกจ้างต้องพิจารณาและต้องใส่ใจ

  • ต้องแสดงให้เห็นถึงความซื่อตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องตอบคำถามว่าทำไมถึงออกจากงานเก่า การตอบตามความเป็นจริงเท่านั้นจะทำให้ผู้สรรหามีความไว้ใจลูกจ้างและจะเชื่อได้ว่าลูกจ้างมีความซื่อสัตย์และจริงใจในทุกคำถามที่ลูกจ้างตอบ
  • แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทำให้ลูกจ้างได้มีโอกาสทำงานที่ใหม่ มีโอกาสเติบโต และมีเป้าหมายในการทำงานในอนาคตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการ Upskills/reskills และการวางแผนการหางานอย่างมีขั้นตอน
  • สร้างความมั่นใจในการหางาน สมัครงาน การสัมภาษณ์งานจากการเตรียมตัว ซึ่งความพร้อมในด้านนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มี positive mindset

ดังนั้นความสามารถในการรับมือกับความยากลำบาก สร้างความอดทนอุตสาหะ จะช่วยให้ลูกจ้างกลับสู่สภาวะปกติหรือดีกว่าเดิม ย่อมเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับว่าลูกจ้างมีทัศนคติอย่างไร พร้อมสำหรับเส้นทางในอาชีพใหม่แล้วหรือยัง