เรามักได้ยินคำว่าโค้ชชิ่งบ่อยครั้งในโลกของธุรกิจ โดยคำว่า “โค้ชชิ่ง” ที่ใช้กันในปัจจุบันมีต้นกำเนิดจากต้นศตวรรษที่ 19 ในตอนแรกนั้นคำนี้มีความหมายถึงกระบวนการแนะนำและชี้นำนักเรียนในการศึกษาเล่าเรียนของพวกเขา ซึ่งเป็นการใช้เชิงเปรียบเทียบจากความหมายเดิมของคำว่าโค้ช ซึ่งเป็นยานพาหนะที่พาผู้คนจากที่ที่พวกเขาอยู่ไปยังที่ที่พวกเขาต้องการจะไปนั้นเอง โดยเป็นความเข้าใจกันดีว่าคุณครูหรือติวเตอร์จะช่วยให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายทางวิชาการ เช่นเดียวกับที่สารถีจะขับรถพาผู้โดยสารไปยังจุดหมายปลายทาง
คำว่า “โค้ช” เองมาจากเมือง Kocs ในฮังการี ซึ่งเป็นที่ที่พัฒนารถม้าแบบหนึ่งในศตวรรษที่ 15 รถม้าคันนี้กลายเป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า “coach” เมื่อเวลาผ่านไป คำนี้ก็ถูกนำมาใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายถึงครูหรือผู้ฝึกสอนที่ช่วยให้ใครบางคนบรรลุเป้าหมายของพวกเขา
ขอขอบคุณรูปภาพจาก Portugal Exposure
การใช้คำว่า “โค้ชชิ่ง” ในความหมายที่กว้างขึ้น รวมถึง Life Coach, Coaching in business การโค้ชทางกีฬา มีการพัฒนาขึ้นอย่างมากในศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันนี้ รอบคลุมกิจกรรมที่หลากหลายที่มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพและการบรรลุเป้าหมายส่วนบุคคลหรือเป้าหมายทางอาชีพ
โดยที่ผู้ทำหน้าที่ตรงนี้นั้นสำคัญมาก ปัจจุบันนี้เราจึงเห็นองค์กรมากมายส่งผู้บริหารเข้าอบรมหลักสูตรนี้เป็นจำนวนมาก เพราะเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ติดตามผลได้อย่างใกล้ชิด และเป็นการช่วยให้ผู้บริหารพุ่งสู่เป้าหมายโดยไม่ยากนัก
เคล็ดลับ 3 ขั้นตอนการโค้ช (Coach)
แล้วเมื่อเรามองลงมาถึงระดับกลางหรือผู้จัดการรวมถึงผู้ปฏิบัติงาน คงเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนในยุคที่เปลี่ยนแปลงเร็วเช่นนี้ ที่จะต้องฝึกฝนทักษะนี้จนชำนาญ วันนี้เราจะขอแนะนำการกระตุ้นความคิดโดยใช้ 3 กระบวนการหลักในขั้นตอนการโค้ชดังต่อไปนี้และสามารถนำไปฝึกใช้ได้ทุกวัน เพื่อทำจนติดเป็นนิสัย โดยที่เคล็ดลับนี้มาจาก 6 กระบวนการหลักสูตร Coaching Conversation Program ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างสัก 3 กระบวนการเท่านั้นหากสนใจสามารถติดต่อลงเรียนเพิ่มเติมได้ในอนาคต
1. Ask don’t tell
ถามคำถามเพื่อเป็นแกนของบทสนทนาและรับฟัง เปลี่ยนจากการสอนงานและบอกทุกกระบวนการ เป็นการตั้งคำถามกลับไปหาลูกน้องของเราว่าเช่น คุณคิดว่าอย่างไร? ทำไมถึงคิดว่าวิธีนี้ดีที่สุด? อะไรทำให้กังวลกับการเลือกปฏิบัติในวิธีนี้? เป็นต้น เพื่อลดการบอกให้ทำตามประสบการณ์ของผู้สั่งงานจนในอนาคตจะกลายเป็นการทำให้ผู้ถาม ถามจนชิน จนไม่เกิดการกระตุ้นสมองส่วนหน้าให้เกิดการคิดและพัฒนาการด้วยตนเอง วิธีนี้จะฝึกสมรรถนะด้านความคิด การแก้ปัญหาและการวิเคราะห์ จนถึงการเชื่อมโยงประสบการณ์อีกด้วย
2. Reframe the picture
สนับสนุนให้คิดถึงกระบวนการที่แตกต่างออกไป ทำให้ลูกน้องเห็นเรื่องนี้ผ่านการมองจากหลายมุมมองไม่ใช่แค่มองจากตนเองฝั่งเดียว ฝึกการใช้คำเปรียบเทียบหรือเปรียบเปรยเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น กระตุ้นให้ลองลงมือทดลองทำสื่งใหม่ ๆ
3. Truth Talk
เป็นกระจกสะท้อนในเรื่องที่คนอื่นอาจไม่กล้าบอก หรือเลี่ยงที่จะพูด ซึ่งเป็นการช่วยให้ลูกน้องสามารถพัฒนาจากจุดที่ได้รับฟังฟีดแบคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป
เพียงแค่การนำ 3 กระบวนการนี้ไปใช้ในการทำงานทุก ๆ วันอย่างสม่ำเสมอจะยิ่งทำให้องค์กรพัฒนาอย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างวัฒนธรรมการโค้ชชิ่งได้อย่างยั่งยืน ท้ายนี้ฝากไว้กับประโยชน์ของการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชชิ่ง อทิเช่น การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นกันมากยิ่งขึ้น การกระตุ้นให้เกิดการคิดหรือทำวิธีใหม่ ๆ ให้กับทีมและองค์กร การฝึกการคิดเชิงวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างคล่องแคล่ว การสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นให้กับคนในองค์กร ลดปัญหาความขัดแย้ง ดีต่อการบริหารธุรกิจและสร้างผลงานที่ดีและทำให้บริษัทมีกำไรและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รวดเร็ว และมั่นคงอีกด้วย
Ref.