ในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น องค์กรต้องเผชิญกับความหลากหลายของทีม และความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การบรรลุเป้าหมายองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว (One team One Goal) ไม่เพียงแต่เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จที่ยั่งยืน
บทความนี้จะแนะนำการจัดการทีมหลายทีมเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน โดยเน้นความสำคัญของการทำงานร่วมกันกับทีมที่หลากหลาย นอกจากนี้เรายังจะเน้นโปรแกรมการเป็นผู้นำ “Collaborate Across Boundaries” ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ผู้นำมีทักษะในการส่งเสริมความร่วมมือ โดยก่อนที่จะพูดถึงการจัดการ One Goal อยากให้ผู้อ่านบทความมีความเข้าใจเบื้องต้นจาก 3 องค์ประกอบของการสร้าง Organization Goal ต่อไปนี้ก่อน
อันดับที่ 1: เข้าใจถึงคำว่า เป้าหมายขององค์กร (Organization Goal)
อันดับที่ 2: เข้าใจถึงการสร้างทีมผู้รับผิดชอบผู้สร้าง (Mission & Vision)
อันดับที่ 3: กระบวนการการทำให้ทุกทีมเข้าใจเป้าหมายเดียว (One Goal)
3 องค์ประกอบของการสร้าง Organization Goal
เข้าใจเป้าหมายขององค์กร (Organization Goal)
เป้าหมายขององค์กรทำหน้าที่เป็นแนวทางสำหรับบริษัท Road Map โดยมาจากพันธกิจและวิสัยทัศน์หลัก หรือเข้าใจอย่างง่ายว่า Mission + Vision = Goal เป้าหมายเหล่านี้บ่งบอกถึงสิ่งที่องค์กรต้องการบรรลุ ซึ่งมีอิทธิพลต่อทุกระดับของธุรกิจ เป้าหมายที่ชัดเจนไม่เพียงแต่ช่วยให้เข้าใจวัตถุประสงค์ แต่ยังสร้างแรงจูงใจให้ทีมมุ่งมั่นสู่ภารกิจร่วมกัน
ตัวอย่างการตั้งค่าเป้าหมาย Goal
- กำหนดพันธกิจและวิสัยทัศน์ (Mission & Vision): ขั้นตอนแรกในการตั้งเป้าหมายองค์กรคือการชี้แจงพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การทำให้ทุกคนมีความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ผู้บริหารควร สรุปวัตถุประสงค์และความต้องการของบริษัท เพื่อให้พนักงานรู้สึกถึงความสำคัญและทิศทางขององค์กร
- มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Key Stakeholders): การมีส่วนร่วมของผู้นำและตัวแทนจากหลายแผนกในกระบวนการตั้งเป้าหมายช่วยส่งเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบ มุมมองที่หลากหลายเหล่านี้ช่วยให้มั่นใจว่าเป้าหมายมีความเป็นจริงและสอดคล้องกับความสามารถของแต่ละแผนก
- ใช้หลักเกณฑ์ SMART Goal: ใช้กรอบงาน SMART (เฉพาะเจาะจง วัดผลได้ สามารถบรรลุได้ สอดคล้อง และกำหนดเวลา) ในการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถดำเนินการได้ วิธีการนี้ช่วยให้ทีมเข้าใจว่าความสำเร็จเป็นอย่างไรและการมีส่วนร่วมของพวกเขาเข้ากับภารกิจโดยรวมได้อย่างไร
เข้าใจการสร้างทีมผู้รับผิดชอบผู้สร้าง (Mission & Vision)
การจัดการทีมหลายทีมอย่างมีประสิทธิภาพมักตกอยู่ที่ผู้นำระดับสูง ผู้จัดการโครงการ หรือผู้นำทีมที่จัดการหลากทีมในองค์กร ซึ่งสามารถประสานกิจกรรมระหว่างแผนกต่อแผนกได้ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากสมาชิกในองค์กร บุคคลเหล่านี้ต้องมีทักษะในการสื่อสารและเข้าใจการทำงานร่วมกันที่ดี
- ทักษะการมีส่วนร่วมของผู้นำทีม: ผู้นำทีมมีบทบาทสำคัญในการทำให้ทีมของตนสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร การประชุมเป็นประจำระหว่างผู้นำทีมสามารถช่วยส่งเสริมความร่วมมือและช่วยระบุความรับผิดชอบที่ทับซ้อนกัน
- การสร้างทีมผู้บริหาร: การจัดตั้งคณะผู้บริหารระดับผู้นำที่ประกอบด้วยตัวแทนจากแผนกหลักสามารถดูแลกระบวนการจัดกลุ่มต่าง สามารถติดตามความก้าวหน้าของโครงการได้และสามารถร่วมแบ่งปันเสนอแนวทางที่ดีที่สุด
กระบวนการการทำให้ทุกทีมเข้าใจเป้าหมายเดียว (One Goal)
- สื่อสารอย่างชัดเจนและบ่อยครั้ง: ใช้ช่องทางต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายขององค์กร โดยมั่นใจว่าข้อความยังคงสอดคล้องกันในทุกแพลตฟอร์มเพื่อป้องกันความสับสน
- การแสดงภาพเป้าหมาย: การสร้างสื่อภาพ เช่น อินโฟกราฟิกหรือแดชบอร์ด สามารถช่วยอธิบายวิธีที่วัตถุประสงค์ของแต่ละแผนกมีส่วนร่วมต่อเป้าหมายโดยรวม
- อัปเดตและสร้างช่องทางข้อเสนอแนะแบบสม่ำเสมอ: ให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมาย ทำให้ทีมสามารถปรับกลยุทธ์ได้ตามความจำเป็น
ทั้งนี้การอบรมเพื่อเข้าใจการการจัดการทีมที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวในการดำเนินงานของบริษัท (Collaborate Across Boundaries) ของ LHH นั้นจึงเน้นความสำคัญอย่างมากที่การส่งเสริมการแก้ปัญหาร่วมกัน การร่วมกันมองหาสิ่งที่ต้องลงมือแก้ไข และการร่วมเดินทางไปที่จุดหมายเดียวกัน
บ่อยครั้ง ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้บริหารอาจเคยผ่านประสบการณ์หรือพบเจอ อาจเริ่มตั้งแต่กระบวนการแรกคือการระดมสมอง การประชุมร่วมกันจากทีมหลากหลายแผนกเลยก็เป็นได้ ยกตัวอย่างการประชุมนั้นล้มเหลวไม่เป็นท่าออกน้ำออกทะเลไปอย่างมาก เนื่องจากทุกทีมมาด้วยวาระของตนเอง หรือ Self Agenda ดังนั้นทุกทีมก็มุ่งแต่จะโฟกัสหรือจัดการปัญหาของตนเป็นหลัก การเน้น การฟัง การเปิดใจอาจจะหล่นหายไประหว่างทาง ด้วยเหตุว่ามองแต่โฟกัสของตน ดังนั้นสำคัญที่สุดเราจึงต้องให้ความรู้กับผู้นำในการดึงทุกคนออกมาให้เห็นภาพใหญ่และการทำงานร่วมกัน เหมือนการเลิกมองที่ต้นไม้ที่ต่างคนต่างกำลังลงมือปลูก หากแต่กลับถอยออกมาคุยว่าจะสร้างป่าพร้อมกันได้อย่างไร
การสร้างสภาพแวดล้อมให้สามารถมองภาพรวมได้อย่างพร้อมเพรียงกันสำคัญมาก สร้างสภาพแวดล้อมที่ทีมสามารถพูดคุยเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ขององค์กรอย่างเปิดเผย จนถึงการสามารถนำพวกเขาไปสู่การร่วมกันหาทางออกต่อปัญหาที่เผชิญด้วยกัน
LHH จึงอยากเสนอให้ผู้บริหารพิจารณาหลักสูตรสำหรับผู้นำ
โปรแกรมการการจัดการทีมที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวในการดำเนินงานของบริษัท (Collaborate Across Boundaries) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างทีมหลายทีม โปรแกรมการเป็นผู้นำ “Collaborate Across Boundaries” เสนอกระบวนการที่มีโครงสร้างในการส่งเสริมวัฒนธรรมความร่วมมือ หลักสูตรประกอบด้วย:
- Disrupting the Status Quo Through Collaboration: กระตุ้นผู้นำให้ท้าทายบรรทัดฐานที่มีอยู่เดิม วัฒนธรรมหรือวิธีการเดิมๆ ที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปและนำแนวทางการร่วมมือที่สร้างสรรค์มาใช้
- Integrating Diverse Perspectives (การบูรณาการมุมมองที่หลากหลาย): ทำความเข้าใจถึงความสำคัญของมุมมองที่หลากหลายในการขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา การรับฟัง เปิดใจฟังคนรุ่นใหม่ และเชื่อใจคนรุ่นเก่า
- Managing Conflict Productively (การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์): การเรียนรู้เทคนิคในการเปลี่ยนความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นให้เป็นการสนทนาที่สร้างสรรค์
- Tough Conversations (การสนทนาที่ในเรื่องที่ยากลำบากหรือละเอียดอ่อน): มอบทักษะให้ผู้นำในการฝึกการสร้างการสนทนาที่ยากลำบากหรือละเอียดอ่อน อย่างถูกต้องถูกวิธี
- Accountability and Next Steps (ความรับผิดชอบและขั้นตอนถัดไป): การกำหนดกระบวนการที่ชัดเจนสำหรับความรับผิดชอบและการติดตามผลเพื่อให้แน่ใจว่าความพยายามในการทำงานร่วมกันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ชัดเจน
สิ่งที่ผู้บริหารจะได้รับจากการอบรมเพื่อเข้าใจการการจัดการทีมที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวในการดำเนินงานของบริษัท (Collaborate Across Boundaries)
- การใช้ประโยชน์จากการร่วมทีมงาน ของทีมที่หลากหลาย
- รวบรวมมุมมองที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทั่วทั้งองค์กร
- มีความรู้ความเข้าใจการทำงานที่ซับซ้อนของการทำงานร่วมกันในหลายระดับ
- เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์ต่างๆ
- ใช้กระบวนการที่มีความชัดเจนในการสร้างแผนงานการทำงานให้ทุกทีมทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรู้ความเข้าใจถึง Conflict Style ของตนเองอีกด้วย โดยในหลักสูตรยังมีการประเมินตนเองเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามธรรมชาติของผู้เข้าร่วมเพื่อให้ผู้นำได้สะท้อนถึงสไตล์ของตนและพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการจัดการความขัดแย้งในสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกัน
หลักสูตรจะช่วยตอบโจทย์อย่างมากต่อผู้บริหาร ในยุคที่ความร่วมมือมีความสำคัญอย่างยิ่ง การจัดการทีมหลายทีมให้มุ่งไปที่เป้าหมายองค์กรเดียวจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จ โปรแกรม “Collaborate Across Boundaries” เตรียมผู้นำด้วยทักษะที่จำเป็นเพื่อสามารถสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันที่ขับเคลื่อนผลลัพธ์ได้เป็นอย่างดี