เราอาจจะรู้สึกว่าเศรษฐกิจในช่วงนี้ก็ดีขึ้นแล้วเมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน ๆ มาโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสถานการณ์โควิดที่ถึงกับทำให้เศรษฐกิจชะงักงันเลยทีเดียว แม้ว่ามีการสำรวจเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตเพียง 3.2% (บริษัท Deloitte) และธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปคือ อุตสาหกรรมเทคโนโลยี e-commerce พลังงานสะอาด พลังงานทดแทน
แต่ทำไมเรายังได้ยินคนรอบ ๆ ตัวหรือตัวเราเองยังต้องเจอสถานการณ์ถูกบอกเลิกจ้าง
ผลของการสำรวจเชื่อว่าแม้ว่ามีการเติบโตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแม้ว่าจะยังไม่มั่นคงนัก ยังคงมีบางภาคส่วน เช่น โรงแรม และบริษัทให้บริการด้านการท่องเที่ยว โรงงานต่าง ๆ ธุรกิจยา และธุรกิจค้าปลีกยังคงมีความเสี่ยงและมีแนวโน้มที่ยังอาจจะต้องเผชิญกับการเลิกจ้างอยู่
เพื่อให้ลูกจ้างยังคงสามารถรักษางานของตัวเองไว้ได้ ด้วยคุณค่าและความสามารถของตัวเองไว้ด้วยแล้ว ยังคงต้องพัฒนาตัวเองในทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยี ความเข้าใจและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนขององค์กร เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคตไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความขาดแคลนทรัพยากร และปัญหาสังคมอื่น ๆ นอกจากนั้นยังต้องพัฒนาความสามารถและความชำนาญเฉพาะทางเพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวลูกจ้างเองอย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตามลูกจ้างบางคนยังคงมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเลิกจ้างอยู่บ้าง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นตัวเร่งที่ทำให้นายจ้างใช้ในการประกอบการตัดสินใจในกรณีที่ต้องเลิกจ้าง มาดูกันว่าลูกจ้างมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่หรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เรายังคงเป็นคนที่มีคุณภาพที่นายจ้างยังคงอยากจ้างอยู่ตลอดไป
1. ขาดวินัย ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
- มาสาย ลาป่วยบ่อย เข้า-ออกงานไม่ตรงเวลา ในกรณีที่ไม่ได้มีเหตุจำเป็น ซึ่งในบางองค์กรค่อนข้างให้การผ่อนปรนในเรื่องเหล่านี้ อาจจะจัดให้มีพนักงานเลือกเวลาเข้าทำงานอยู่แล้ว หรือมีการเจรจาล่วงหน้าเป็นกรณีพิเศษเช่นต้องดูแลผู้ป่วยซึ่งการทำตามข้อตกลงจะไม่ถือว่าเป็นการขาดความรับผิดชอบ
- ส่งงานล่าช้าเป็นประจำ ลูกจ้างต้องควรที่จะประเมินระยะเวลาในการทำงาน ฝึกการวางแผนและกำหนดระยะเวลาในการทำงานก็จะช่วยสร้างวินัยและจัดการตามแผนงานจะช่วยให้ลูกจ้างสามารถทำงานให้ลุล่วงไปในแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสมและตรงตามเวลา
- ไม่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ได้ผลงานตามเป้าหมาย ในองค์กรมีการกำหนดเป้าหมายเฉพาะบุคคล เป้าหมายรวมของแผนกหรือฝ่าย รวมทั้งเป้าหมายหลักขององค์กรที่ลูกจ้างทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในการขับเคลื่อน ถ้าลูกจ้างไม่รับผิดชอบแม้กระทั่งงานของตัวเอง ทำให้เป้าหมายส่วนรวมไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ ถือเป็นความน่าละอายของตัวลูกจ้างเพราะลูกจ้างทุกคนมักจะมีความรับผิดชอบที่ต่างกัน อาจจะเท่ากันในระดับเดียวกัน การกำหนดเป้าหมายย่อยของลูกจ้างทำให้ได้มีโอกาสจัดลำดับความสำคัญของงานได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การทำงานไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ละเลย เพิกเฉยต่อกฎระเบียบของบริษัท ถือเป็นความเสี่ยงต่อองค์เป็นอย่างยิ่ง เพราะกฎระเบียบเป็นส่วนที่สร้างความเท่าเทียมกันของตัวลูกจ้างในองค์กร เป็นทิศทางที่องค์กรวางแผนไว้เพื่อให้การปฏิบัติตัวของลูกจ้างเป็นไปอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม การละเลยหรือเพิกเฉยคือการที่ลูกจ้างล่วงเกินไม่เคารพสิทธิ์ส่วนบุคคลของเพื่อนร่วมงานและคนอื่น ๆ ในบริษัท แม้ว่าลูกจ้างจะไม่ได้รู้สึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้นการปฏิบัติตามระเบียบจึงถือเป็นการให้เกียรติเคารพความเป็นปัจจเจกบุคคลของแต่ละคนในองค์กร
2. ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน
- ทำงานไม่ตรงตามมาตรฐาน งานที่ได้รับมอบหมายมีข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง ต้องแก้ไขซ้ำ ๆ ในกรณีที่เป็นงานประจำทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ หมายถึงลูกจ้างไม่มีความถนัดในเรื่องเหล่านั้น การฝึกอบรมเพื่อสร้างความชำนาญในงานนั้น ๆ นอกจากจะทำให้ลูกจ้างลดข้อผิดพลาดแล้ว อาจจะมองเห็นส่วนที่ควรมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้งานดีกว่าที่คาดคิดได้อีกด้วย
- ผลงานไม่ตรงตามเป้าหมาย ไม่บรรลุผลตามที่คาดหวัง อาจจะต้องมองทั้งสองด้านคือ เป้าหมายที่ตั้งไว้เกินความเป็นจริงหรือเกินความสามารถของลูกจ้าง การทบทวนเป้าหมายอาจจะทำให้ลูกจ้างสามารถทำงานได้บรรลุตามเป้าหมายใหม่ที่วางไว้ได้ดีขึ้น แต่เป้าหมายใหม่อาจจะต้องผ่านการยินยอมของหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานในกรณีที่เป็นเป้าหมายรวม หรือกลับมามองวิธีการทำงานที่ขาดการวางแผนที่ชัดเจน ไม่มีการจัดการที่สม่ำเสมอ หรือผลัดวันประกันพรุ่งอยู่ตลอดเลยทำให้งานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จตามที่วางแผน ซึ่งถ้าคนในทีมสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ย่อมหมายความว่าลูกจ้างนั้นต้องทบทวนวิธีการทำงานของตัวเองใหม่และวางแผนการทำงานใหม่เพื่อให้ได้เป็นไปตามเป้าที่กำหนด
- ขาดทักษะ ความรู้ หรือประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการทำงาน การ Upskill/ Reskill จะช่วยให้ลูกจ้างสามารถมีทักษะในการทำงานมากยิ่งขึ้น มีความมั่นใจและสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกจ้างและส่งผลลัพย์ที่ดีต่อตัวเอง และองค์กรอย่างยั่งยืนอีกด้วย
3. ขาดความตั้งใจ ไม่ใส่ใจ มุ่งแต่เล่นหรือทำธุระส่วนตัว
- เล่นมือถือ เล่นโซเชียลมีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำกิจกรรมส่วนตัวในเวลางาน ซึ่งสถิติจากการสำรวจของบริษัท AIS ในปี 2023 พบว่าลูกจ้างเล่นมือถือระหว่างทำงาน 53% นั่นหมายถึงส่งผลในเชิงผลผลิตของลูกจ้างในแต่ละคนลดลงอย่างมาก และยังทำให้เกิดการล่าช้าในการทำงาน อาจส่งผลอันตรายเกิดอุบัติเหตุระหว่างงานได้อีกด้วย ที่สำคัญอาจจะมีการนำข้อมูลขององค์กรไปใช้อย่างรู้เท่าไมถึงการณ์ส่งผลด้านลบต่อองค์กร ทำให้องค์กรเสียหายอีกด้วย
- ไม่สนใจ เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น ทำงานแบบขอไปที นายจ้างมักจะเล็งเห็นว่าลูกจ้างที่มีแนวโน้มในลักษณะนี้เป็นเหมือนโรคร้ายที่ลุกลามอย่างช้า ๆ แต่จะส่งผลต่อองค์กรอย่างมาก เพราะคนกลุ่มนี้ขาดความคิดสร้างความก้าวหน้าให้กับตัวเอง ไม่มีความคิดริเริ่ม ไม่เสนอแนะแนวทางใหม่ ไม่พัฒนาฝีมือ
4. มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ สร้างความขัดแย้งในที่ทำงาน
- ทะเลาะวิวาท ใช้อารมณ์ พูดจาไม่เหมาะสมกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน
ถือเป็นพฤติกรรม Bully ในที่ทำงานซึ่งสามารถฟ้องร้องกันเลยทีเดียว ลูกจ้างที่มีพฤติกรรมแบบนี้สร้างความแตกแยกในองค์กรค่อนข้างส่งผลเสียต่อเพื่อนร่วมงานโดยตรงและทำให้เกิดความร้าวฉานในความสัมพันธ์ภายในแผนกและองค์กร - นินทา ใส่ร้าย ยุยงให้เกิดความเกลียดชัง สร้างความขัดแย้งในที่ทำงาน
- ไม่ร่วมมือ ไม่ช่วยเหลือ ไม่ซัพพอร์ตเพื่อนร่วมงาน สร้างบรรยากาศการทำงานที่ตึงเครียด ทำให้กระทบต่อการทำงานเป็นทีม ไม่มีใครอยากร่วมงานด้วย ส่งผลให้ลูกจ้างถูกโดดเดี่ยว และไม่มีความกระตือรือร้น ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
5. ขาดความซื่อสัตย์ ทุจริต เอาเปรียบบริษัท
- ขโมยทรัพย์สินของบริษัท นำไปใช้ส่วนตัว
ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่มูลค่าน้อยไปจนถึงมูลค่าสูงถือเป็นความผิดทั้งสิ้น และถือเป็นการอาเปรียบทั้งผู่ร่วมงานและองค์กร เช่น ลูกจ้างเอากาแฟกลับไปเพื่อดื่มที่บ้านวันละ 2 ซองและเมื่อทำทุกวัน ปริมาณรวมและมูลค่าก็ถือว่าสูงและเป็นการเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานที่ควรจะได้สิทธิ์เช่นเดียวกัน - รับสินบน รีดไถ ฉ้อโกง เอาเปรียบบริษัทหรือลูกค้า
- แจ้งข้อมูลเท็จ ปกปิดข้อเท็จจริง เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ตามตัวอย่างทั้งหมดนี้นายจ้างสามารถไล่พนักงานออกได้เลยโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย ทำให้ลูกจ้างเสียประวัติ และไม่ได้รับเงินชดเชย
6. เปิดเผยข้อมูลลับความลับทางการค้าของบริษัท
ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อประเมินแล้วอาจจะสูงกว่าที่ลูกจ้างคิด ดังนั้นเช่นเดียวกันกับหัวข้อข้างบน ลูกจ้างอาจถูกไล่ออกโดยไม่ได้ค่าชดเชย และอาจจะมีความผิดทางคดีแล้วแต่บริษัทจะฟ้องร้องขึ้นอยู่กับความเสียหาย
- บอกข้อมูลลูกค้า ข้อมูลคู่แข่ง หรือข้อมูลทางการเงินของบริษัทให้ผู้อื่นทราบ
- นำเอกสาร แฟ้ม หรือข้อมูลลับของบริษัทออกไปนอกสถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาต
- โพสต์ข้อมูลลับของบริษัทบนโซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์
7. ประพฤติตนไม่เหมาะสม สร้างภาพลักษณ์เสียหายให้กับบริษัท
- มีพฤติกรรมที่ลามกอนาจาร หรือใช้สารเสพติดในที่ทำงาน
- พูดจาไม่เหมาะสม ดูถูก ล่วงละเมิด หรือคุกคามผู้อื่น
- มีส่วนร่วมในกิจกรรมผิดกฎหมาย หรือสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัท
โดยสรุปผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมเหล่านี้มีผลเสี่ยงต่อการเลิกจ้างค่อนข้างสูง เมื่อนายจ้างประเมินแล้วเล็งเห็นว่าไม่คุ้มต่อการจ้างต่อเพราะ
- ประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ไม่เพียงกำหนดส่งผลเสียต่อผลงาน และไม่ใช่แค่ต่อประสิทธิภาพการทำงานของตัวบุคคลแต่กระทบผลผลิตขององค์กรโดยรวม ทำให้บรรลุเป้าหมายได้ยากขึ้น อาจสร้างความเสียหายและสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
- สร้างปัญหาความสัมพันธ์และบรรยากาศการทำงาน เพราะพฤติกรรมเหล่านี้สร้างความขัดแย้งและบรรยากาศการทำงานที่ตึงเครียด เกิดความไม่ไว้วางใจ ส่งผลเสียต่อทั้งพนักงานและองค์กร
- การละเมิดกฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัท ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร สร้างความขัดแย้งในองค์กร เกิดกรณีเลือกข้าง ไม่มีความยุติธรรม ซึ่งสร้างภาพลบในแผนกและองค์กรอาจจะนำไปสู่การลงโทษ มีผลลบกับประวัติการทำงานของลูกจ้างอีกด้วย
ในโลกปัจจุบันลูกจ้างยังต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิตัลและเทคโนโลยีที่ลูกจ้างอาจจะตามทันบ้างและไม่ทันบ้างก็ตาม การใช้เทคโนโลยีมาแทนงานบางส่วนเพราะมีความแม่นยำกว่า การควบรวมกิจการ การย้ายสถานที่ทำงานล้วนมีผลต่อการเลิกจ้างทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อให้ลูกจ้างยังคงมีงานที่มั่นคง จึงจำเป็นที่ต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเองอีกด้วย