โอกาสที่มนุษย์เงินเดือนที่อาจจะต้องเผชิญในปัจจุบัน คือการถูกบอกเลิกจ้าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปแล้ว แต่ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตเลย และการถูกเลิกจ้างอย่างกะทันหันย่อมสร้างความเครียดและความรู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจให้แก่ผู้ถูกเลิกจ้างเป็นอย่างมาก สภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เช่นนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายและก็ไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ได้อีกด้วย
ในส่วนของผู้ที่เป็นคนบอกเลิกจ้างจึงต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์ให้เหมาะสมที่สุด เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างน้อยที่สุด
โดยสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- ระยะเวลาในการทำงาน ลูกจ้างที่ทำงานมานาน มักจะมีความผูกพันกับองค์กร เพื่อนร่วมงาน และรู้สึกสูญเสียมากกว่าพนักงานที่เพิ่งเริ่มทำงาน
- สถานะทางการเงิน มีภาระที่ต้องดูแล
- ปัญหาสุขภาพ
ปัจจัยหลักเหล่านั้นอาจทำให้ลูกจ้างอาจจะเกิดอารมณ์ที่อ่อนไหว มีผลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างกันและพฤติกรรมก็จะผันแปรไปตามปัจจัยเหล่านั้นเช่น
- โกรธ โมโหรุนแรง รู้สึกถูกทำร้ายอย่างไม่เป็นธรรมจากหัวหน้างานหรือองค์กร และยังไม่สามารถยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อาจมีปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการด่าทอ ประท้วง หรือแสดงพฤติกรรมรุนแรง
- ซึมเศร้า เสียใจ รู้สึกหมดหนทาง อ้างว้าง ผิดหวัง กับการสูญเสียงาน รายได้ และความมั่นคงในอาชีพ อาจมีอาการใจหาย น้ำตาไหล หรือแสดงออกถึงความสิ้นหวัง
- ตกใจ งุนงง สับสน ไม่เชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความจริง รู้สึกเหมือนโลกาวินาศ ไม่สามารถคิดหรือตัดสินใจอะไรได้ชั่วขณะนั้น
- ตื่นตระหนก กลัวอนาคต วิตกกังวลเรื่องการเงิน ค่าใช้จ่าย รายได้ที่จะขาดหายไป โดยเฉพาะลูกจ้างที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูง มักจะมีความเครียด กังวล เกี่ยวกับอนาคตมาก กังวล เกี่ยวกับอนาคต ไม่รู้ว่าจะหางานใหม่ได้ที่ไหน
- โกรธแค้น เพราะรู้สึกอับอาย ด้อยค่า กลัวว่าคนอื่นจะมองอย่างไร รู้สึกว่าถูกทรยศ ไม่ยอมรับข้ออ้างใด ๆ หรืออาจหาช่องทางแก้แค้น
- รู้สึกโดดเดี่ยว ล้มเหลว ไร้ที่พึ่ง ไร้คุณค่า ไม่มีใครเข้าใจ บั่นทอนความมั่นใจในตนเอง กลัวจะไม่มีที่ทำงานใหม่
- หงุดหงิด ระแวง อารมณ์ฉุนเฉียว รู้สึกไม่มีใครเชื่อใจ หรือถูกหลอกลวง
ถึงแม้ว่าสภาวะทางอารมณ์เเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนสามารถควบคุมได้หลังจากตั้งสติเพราะสภาวะอารมณ์เหล่านี้ มักจะเป็นเพียงแค่ชั่วคราว แต่สำหรับบางคนที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตอยู่แล้วอาจส่งผลต่อเนื่องในระยะยาวและมีอาการทางกายภาพเช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดหัว หรือ รู้สึกใจสั่น ดังนั้นการให้ความเข้าใจ รับฟัง และช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างอย่างจริงใจและเป็นกันเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การเลิกจ้างพนักงานอย่างกะทันหันย่อมสร้างความเครียดและความรู้สึกผิดหวังให้กับพนักงานเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้บอกเลิกจ้างซึ่งส่วนใหญ่จึงเป็นหัวหน้างานของลูกจ้างที่อยู่ภายใต้การดูแล ที่มีความเข้าใจในตัวลูกจ้างได้ดีกว่าผู้อื่น การรับมือกับสภาวะอารมณ์ของผู้ถูกเลิกจ้างอย่างกระทันหันจึงเป็นเรื่องที่ต้องจัดการอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตามผู้บอกเลิกจ้างจึงต้องได้รับการฝึกอบรมจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงและสามารถควบคุมสถานการณ์ให้เป็นไปโดยราบรื่น
ข้อแนะนำสำหรับการรับมือสำหรับผู้บอกเลิกจ้าง
ควรแสดงความเคารพและให้เกียรติ พูดจาด้วยน้ำเสียงสุภาพ
ชื่นชมผลงานและความทุ่มเทของพนักงานที่ผ่านมาและอธิบายสาเหตุการเลิกจ้างอย่างชัดเจน โดยใช้ข้อมูลจริงและมีหลักฐานรองรับ ให้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงหรือดูถูกหรือคำพูดที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ใช้น้ำเสียง สีหน้า และท่าทางที่สื่อถึงความจริงใจ เห็นใจและเข้าใจในสภาวะจิตใจของพนักงาน
ให้โอกาสผู้ถูกเลิกจ้างได้ระบายความรู้สึกอย่างเต็มที่โดยไม่ขัดจังหวะหรือตัดบท
ฟังด้วยความเข้าใจและเห็นใจ แม้จะเป็นการพูดที่รุนแรงหรืออารมณ์เสียก็ตาม ไม่ควรโต้เถียง ปฏิเสธ หรือพยายามหักล้างความรู้สึกของลูกจ้างในขณะนั้น หลังจากนั้นให้กำลังใจ ย้ำถึงศักยภาพและผลงานที่ผ่านมา พร้อมมอบช่องทางให้คำปรึกษาหากต้องการ
อธิบายถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พนักงานพึงได้รับอย่างละเอียด
ทุกสิทธิประโยชน์อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา พร้อมแจ้งระยะเวลาและวิธีการที่พนักงานจะได้รับอย่างครบถ้วน จะช่วยให้พนักงานมั่นใจและลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เช่น ค่าชดเชยการเลิกจ้าง เงินสะสมต่างๆ การคืนหลักประกัน สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิประโยชน์อื่นๆ เป็นต้น
หากมีความจำเป็น อาจต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้ามาร่วมด้วย
ในบางกรณีที่คาดว่าพนักงานอาจมีปฏิกิริยารุนแรงหรืออาจก่อให้เกิดเหตุวิวาทจลาจล อย่างไรก็ตาม การมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยร่วมอยู่ด้วยนั้นต้องดำเนินการด้วยความละเอียดอ่อนและระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดบรรยากาศที่คุกคามหรือก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ควรสวมเครื่องแบบรักษาความปลอดภัยและไม่พูดโต้ตอบโดยตรงกับลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้าง
ไม่ควรโต้เถียงหรือผลักดันในประเด็นที่ผู้ถูกเลิกจ้างยังคับข้องใจ
ถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะการโต้เถียงหรือผลักดันประเด็นต่างๆ ย่อมไม่สามารถทำให้เขาเปลี่ยนความคิดได้ แต่อาจทำให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้นให้เวลาผ่อนคลายความรู้สึกไปก่อน ในขณะเดียวกันไม่ควรยืนยันหรือปฏิเสธความคิดของผู้ถูกเลิกจ้าง เพียงแต่รับฟังและให้เกียรติความคิดเห็นของเขา การให้เวลาและเคารพสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นของผู้ถูกเลิกจ้าง จะช่วยคลายความรุนแรงของอารมณ์ และเปิดโอกาสสำหรับการสื่อสารที่เข้าใจกันมากขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีขององค์กรด้วย
การดูแลสุขภาพจิตของพนักงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นสิ่งสำคัญมาก
เนื่องจากการสูญเสียงานอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจและสภาวะทางอารมณ์ได้ การเสนอความช่วยเหลือด้านจิตใจ เช่น การปรึกษาจิตแพทย์หากจำเป็น หรือแนะนำช่องทางขอคำปรึกษาต่างๆหรือ การจัดอบรมการเตรียมตัวและการปรับตัวเพิ่มทักษะการหางานโดยบริษัทที่ให้บริการ Outplacement เพื่อให้รับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น
การรักษาความเป็นส่วนตัวและไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นหลักการสำคัญที่ต้องยึดถือ
ข้อมูลส่วนบุคคลและรายละเอียดที่พนักงานเปิดเผยระหว่างการปรึกษาหรือระบายความรู้สึก จะต้องถูกเก็บเป็นความลับอย่างเคร่งครัด ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความไว้วางใจระหว่างพนักงานและองค์กร ช่วยให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยในการเปิดเผยและระบายความรู้สึกโดยไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบในทางลบ
ข้อแนะนำสำหรับการรับมือสำหรับผู้ถูกบอกเลิกจ้าง
ในส่วนของตัวลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างเองก็ต้องรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นเดียวกันตั้งสติ เตรียมพร้อมทั้งสภาพจิตใจและร่างกาย เร่งหาทางเลือก และรีบลุกขึ้นมาสู้ต่อ เพื่อทางรอดของตัวเองและครอบครัว ในอนาคต วางแผนทั้งทางด้านการเงิน แสวงหาสิ่งที่ชอบและถนัด ที่สำคัญคือ ต้องมองโลกในทางบวก และมองหาวิธีการที่จะทำให้สามารถเดินต่อ และเติบโตได้อย่างมั่นคง
ในช่วงแรก สิ่งสำคัญคือ การยอมรับความรู้สึกของตัวเอง เป็นเรื่องปกติที่ของทุกคนที่เกิดความรู้สึกเสียใจ โกรธ ผิดหวัง สับสน กังวล ไม่จำเป็นต้องพยายามกดขี่อารมณ์เหล่านั้นไว้ ปล่อยให้ตัวเองรู้สึก ร้องไห้ ระบายความในใจ หรือคุยกับคนรอบข้างที่ไว้ใจได้ เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือ นักบำบัด เพราะการพูดคุยจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น
เคล็ดลับในการจัดการความเครียด
- การออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การเดินเร็ว โยคะ หรือการออกกำลังกายแบบเบาๆ จะช่วยปล่อยฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน ลดความตึงเครียด
- ทำสมาธิโดยฝึกการหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ ลึกๆ จะช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น สามารถทำได้แม้แต่ในสถานที่ทำงาน
- พูดคุยกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิดเป็นการระบายความรู้สึกกับคนที่ไว้วางใจ นอกจากจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายแล้วบางครั้งได้เห็นมุมมองใหม่ๆ
- การเขียนบันทึกประจำวันจะช่วยให้คุณสามารถระบายและจัดระเบียบความคิดได้ดีขึ้น อาจจะเกิดแนวคิดใหม่ๆ เกิดแผนงานสำหรับก้าวใหม่ของชีวิต
- ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง ปลูกต้นไม้ หรือหรือกิจกรรมที่อยากทำมานานแต่ยังไม่มีโอกาสทำ เช่นการเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นคอร์สระยะสั้น หรือการเรียนต่อเฉพาะทางและสูงขึ้น นอกจากจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความตึงเครียด และเป็นการเตรียมตัวเพื่อความก้าวหน้าในชีวิตอีกด้วย
- หลีกเลี่ยงสารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์และบุหรี่ เพราะจะทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นในระยะยาวและเป็นผลเสียต่อร่างกายอีกด้วย
- ใช้เวลากับคนที่คุณรัก: ทำกิจกรรมที่คุณชอบ ผ่อนคลายความเครียด
เมื่อเริ่มรู้สึกดีขึ้น ให้ลองทำสิ่งต่อไปนี้
- ดูแลตัวเอง: พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย
- จัดการกับเรื่องเอกสาร: ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- หางานใหม่: ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดงาน อัปเดตประวัติย่อ สมัครงาน
- พัฒนาทักษะ: เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฝึกฝนทักษะที่มีอยู่
ควรตระหนักได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดกับเราเพียงคนเดียว หลายคนที่ผ่านประสบการณ์นี้มาแล้ว และสามารถก้าวผ่านมันไปได้ บางคนได้งานใหม่ ตำแหน่งสูงขึ้นกว่าเดิม เงินเดือนมากขึ้น และได้งานที่มีโอกาสเติบโตในอนาคตอีกด้วย
การให้บริษัทที่ให้บริการด้าน Outplacement จะช่วยให้ลูกจ้างสามารถเข้าใจวิธีการหางานที่ตรงกับทักษะและความสามารถ ตลาดแรงงานและกระบวนการหางานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพราะกระบวนการเหล่านั้นผ่านการวิเคราะห์ ทดสอบและช่วยให้ลูกจ้างหางานใหม่ได้จริง
LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร
LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ [email protected] หรือโทร 022586930-35