เลิกจ้างเขาแล้ว แต่อยากให้กลับมาทำงาน

Published on
Written by

ในความจริงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์การบอกเลิกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวนายจ้างหรือลูกจ้าง แต่เมื่อมีความจำเป็นอันเนื่องจากตำแหน่งนั้น ๆ ไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป จะด้วยลักษณะงานที่เปลี่ยนไปหรือการควบรวมกิจการ จากการเปลี่ยนแปลงทิศทางธุรกิจ

และในขณะเดียวกันในฐานะนายจ้างเมื่อมีการบอกเลิกจ้าง ก็มีการวางแผนการจ้างแรงงานที่เหมาะสมในอนาคตไว้ด้วยเช่นกัน ทำอย่างไรจะสามารถจ้างคนที่มีคุณสมบัติและความชำนาญตามที่ต้องการได้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด และจำนวนเพียงพอกับที่วางแผนไว้

มีบางกรณีเหมือนกันที่บอกเลิกจ้างแล้ว แต่เป็นลักษณะงานที่จำเป็นอยู่ นายจ้างจึงขอต่อสัญญาให้ทำต่ออาจจะเป็นเดือนต่อเดือน หรือมีระยะเวลาที่แน่นอน หรือบอกเลิกจ้างและหมดสภาพเป็นลูกจ้างประจำแล้ว แต่จ้างต่อเป็นลูกจ้างชั่วคราวผ่านบริษัทที่ให้บริการทางด้านบุคลากร ซึ่งไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด และวิธีใด ๆ นั่นหมายถึงว่า เมื่อเวลาผ่านไปนายจ้างตระหนักรู้ว่าอาจจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะเกิดผลกระทบเสียหายมากกว่า และมีความจำเป็นต้องจ้างลูกจ้างที่มีความชำนาญ หรือต้องจ้างผู้ที่ถูกบอกเลิกจ้าง และอาจจะมีผลเสียหายต่อเนื่องเสียโอกาสและเวลาพอสมควรจนกว่าจะได้คนใหม่มาแทนซึ่งต้องมีการเรียนรู้อย่างน้อยก็ 3 เดือน แม้ว่าการบอกเลิกจ้างอาจจะทำให้รายงานการเงินของบริษัทดูดีในทันที แต่ในระยะยาวแล้วอาจจะไม่ใช่

ในฐานะนายจ้าง การจะบอกเลิกจ้างลูกจ้างและหาคนใหม่เข้ามาแทน อาจจะต้องมองในการเพิ่มการฝึกอบรม (Reskill & Upskill) เพื่อให้ลูกจ้างมีความเข้าใจในกระบวนการใหม่ ๆ หรือทักษะใหม่ ๆ เพราะในระยะยาวอาจจะให้ผลลัพย์ที่ดีกว่าต่อตัวนายจ้าง เพราะไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสรรหาบุคคลใหม่และการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมของบุคคลากรใหม่อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกว่าที่จำเป็น ส่วนตัวลูกจ้างเองสูญเสียความไว้วางใจในนายจ้างแล้ว และสำหรับบางคนก็ไม่คิดจะกลับมาเป็นลูกจ้างให้บริษัทเดิมอีกต่อไป

จะเห็นได้ว่าบางครั้งการเลิกจ้างพนักงานอาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดก็เป็นได้ แต่เมื่อมีการเลิกจ้างออกไปแล้วและอยากจะได้ลูกจ้างที่มีความชำนาญเฉพาะทางที่มีความจำเป็นกลับมา นายจ้างควรจะทำอย่างไร

ทำอย่างไรดี ในเมื่อบอกเลิกจ้างแล้ว แต่อยากให้เขากลับมาทำงานกับเรา

ผู้ที่ถูกบอกเลิกจ้างกลับมาทำงานที่เดิม

ในกรณีที่ลูกจ้างยินดีที่จะกลับมารับงานในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเท่าเดิม และคืนเงินชดเชยโดยหักตามจำนวนระยะเวลาที่ไม่ได้ทำงาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ลูกจ้างมักจะมองว่า

  • นายจ้างเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีมากอยู่แล้ว
  • เงินเดือนที่ได้รับอยู่ เมื่อเทียบในตลาดก็อาจจะอยู่ในระดับที่สูงเป็นที่พอใจ
  • การเรียกให้กลับมารับตำแหน่งในครั้งนี้ สามารถต่อรองขอให้ระยะเวลาในการทำงานต่อเนื่องอายุงานเดิมกับปีที่เริ่มทำงาน เพราะมีผลในการรับเงินชดเชยยามเกษียณ เพราะถ้าไปทำงานที่อื่นต้องเริ่มนับเป็นปีที่เริ่มทำงาน
  • ไม่ต้องปรับตัวเรื่องงานมาก แต่พอจะเข้าใจได้ว่างานอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม เพราะต้องรับงานของบางตำแหน่งที่ถูกเลิกจ้างไปเช่นกัน
  • ไม่ต้องปรับตัวกับเพื่อนร่วมงานเพราะเป็นคนกลุ่มเดิมที่เคยร่วมงานกันมา
  • มีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้น เพราะความรู้ ความสามารถและความชำนาญยังเป็นที่ต้องการ
  • เป็นผู้นำครอบครัวและไม่อยากเสี่ยงถ้าจะหางานไม่ได้ในระยะเวลาอันสั้น
  • ไม่อยากเสียโอกาสที่จะได้งาน เพราะอย่างไรก็ตามถ้าไม่ทำที่เก่า ก็ต้องหางานที่ใหม่อยู่ดี
  • เชื่อว่าธุรกิจที่ทำอยู่นี้ ยังคงเติบโตไปได้อีกในอนาคต และยังคงมีความมั่นคงในอาชีพ และอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรน้อยลงแล้ว
  • เชื่อว่านายจ้างยังคงน่าเชื่อถือได้ เพราะจากการบอกเลิกจ้างที่ผ่านมา นายจ้างและหัวหน้างานปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างให้เกียรติ มีความเป็นมืออาชีพ และให้ความช่วยเหลือในกระบวนการเลิกจ้าง และจ้างใหม่ได้อย่างเหมาะสม
  • กระบวนการสรรหาบุคคล และตลาดแรงงานเปลี่ยนไปจากประสบการณ์ก่อนหน้านั้น และอาจจะต้องทำความเข้าใจ เตรียมการเขียน resume เตรียมการสัมภาษณ์และอื่น ๆ เพื่อให้ได้งานใหม่ แต่ถ้ารับงานนี้ก็สามารถตัดขั้นตอนเหล่านี้ออกไปได้เลย
  • เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความก้าวหน้าในอาชีพโดยการฝึกอบรมต่าง ๆ Upskill/Reskill เพื่อเตรียมตัวเป็นหัวหน้าในระดับสูงขึ้น หรือความชำนาญใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ
  • ลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกอบรม Outplacement มองว่านอกจากจะได้งานที่ทำได้แน่ ๆ ยังได้เรียนรู้กระบวนการและขั้นตอนการสรรหาบุคคลเพื่อเตรียมความพร้อม ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรในอนาคตจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ผู้ที่ถูกบอกเลิกจ้างเลือกจะหาที่ทำงานใหม่

สำหรับลูกจ้างที่ไม่ต้องการกลับมาทำงานในที่เดิม ลูกจ้างเองก็ไตร่ตรองเช่นเดียวกันว่าถ้ายังคงทำงานเหมือนเดิม ในสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ กลุ่มคนเดิม ๆ เงินเดือนเท่าเดิม เงินชดเชยที่คิดว่าจะได้ก็ไม่ได้ ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องท้าทายอีกต่อไป และเล็งเห็นความก้าวหน้าและเติบโตในที่ใหม่ โดยเฉพาะถ้าเริ่มสมัครงานไปแล้วและได้โอกาสสัมภาษณ์งานและมีแนวโน้มว่าจะได้ที่ใหม่ ทำให้โอกาสที่จะเลือกกลับมาทำงานที่เดิมก็อาจจะน้อยลงทีเดียว นอกจากนั้นสิ่งที่ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้างคำนึงถึงคือ

  • เหตุผลที่นายจ้างบอกเลิกจ้าง แล้วเรียกกลับมา สร้างความคลางแคลงใจว่าใช่เหตุผลที่แท้จริงในการบอกเลิกจ้างจริงหรือไม่ ย่อมอดคิดไม่ได้ว่าทำไมสถานการณ์ถึงเปลี่ยน และนายจ้างจะยังคงจ้างต่อ และจะจ้างไปอีกนานแค่ไหน ไม่กล้าที่จะเชื่อได้ว่าจะเกิดการจ้างงานต่อจริง ๆ เพราะลูกจ้างได้สูญเสียความน่าเชื่อถือ ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อนายจ้างไปแล้ว
  • โอกาสที่จะเติบโตก้าวหน้าในองค์กรยังจะมีอยู่มั๊ย ที่ผ่านมาก็เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าองค์กรให้ความสนใจสร้างบุคลากร สนับสนุนให้มีการพัฒนาตัวเองมากน้อยอย่างไร ยังมีความมั่งคงในอาชีพการงานกับที่นี่ต่อไปอีกหรือไม่ และยังคงมีความกังวลว่าจะมีการจ้างงานต่อไปอีกนานเท่าไร และมีโอกาสที่จะบอกเลิกจ้างใหม่อีกครั้งมั๊ย เงื่อนไขการบอกเลิกจ้างจะเป็นอย่างไร
  • อายุมากขึ้น ถ้าต้องเปลี่ยนงานในครั้งต่อไป โอกาสจะน้อยลงมาก ทำให้การหางานจะยากมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะหาประสบการณ์ใหม่ ๆ
  • ลูกจ้างมีโอกาสปฏิเสธถ้าตกลงในเงื่อนไขใหม่ได้ ลูกจ้างอาจจะต่อรองขอคืนเงินชดเชยเพียงบางส่วน หรือต่อรองเงินเดือน หรือตำแหน่งก็เป็นไปได้
  • ลูกจ้างได้มีโอกาสเข้ารับบริการ Outplacement มีความเข้าใจในกระบวนการสรรหาบุคคล มีความเข้าใจตัวเองมากขึ้น เล็งเห็นความสามารถ ความชำนาญอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีความมั่นใจในการที่จะหางานในตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือถือโอกาสสร้างธุรกิจของตัวเองเป็นเจ้าของกิจการเองเลยก็เป็นไปได้

สรุป

การบอกเลิกจ้างลูกจ้างอาจจะเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียให้กับลูกจ้างและนายจ้าง ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ไหนสร้างโอกาสที่ดีกว่าให้ใคร การปรับตัวกลายเป็น Norm ของคนในยุคสมัยนี้ แต่ไม่ว่าการตัดสินใจจะเป็นอย่างไร การให้โอกาสตัวเองโดยใช้หลักเกณฑ์ที่เป็นเหตุเป็นผล ผ่านการเรียนรู้ วิเคราะห์ตลาด ความสามารถของตัวเอง และเข้าใจตัวเองก็จะสร้างความก้าวหน้าในอนาคตที่เราเป็นคนกำหนด

LHH (Lee Hecht Harrison) เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Outplacement และ Career Transition ดำเนินงานในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งให้บริการในการช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างหรือต้องเปลี่ยนสายอาชีพภายในองค์กรและนอกองค์กร  

LHH มีบริการ Outplacement และ Career Transition ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของพนักงานทุกระดับ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพใหม่ให้สามารถก้าวข้ามขั้นตอนที่ท้าทายของการเปลี่ยนงานหรืออาชีพได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จโดยทีมที่ปรึกษาจาก LHH จะให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะและการเตรียมตัวสำหรับการสมัครงาน อาทิเช่น เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การเขียนประวัติการทำงานอย่างย่ออย่างฉบับมืออาชีพ ทราบถึงข้อมูลตลาดงานในปัจจุบัน การสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ และอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานเริ่มต้นในสายงานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่[email protected]หรือโทร  022586930-35